ชื่อวิจัย รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัด
กิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียน
อนุบาลเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย นางเอื้อง ปินตาแหลม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ที่มีกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียวและมีการทดสอบก่อนและหลังเรียนในรูปแบบที่เรียกว่า One Group Pretest - Posttest Design กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้รายงานใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามแนวคิดของบุญชม ศรีสะอาด (2545 : 44) ได้ประชากรกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียน อนุบาลเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 18 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 10 หน่วย หน่วยละ 3 กิจกรรม 2) ชุดกิจกรรมการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรม เสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 10 หน่วย หน่วยละ 3 กิจกรรม 3)แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนในการร่วมการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการคำนวณหาประสิทธิภาพ E1/E2 หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบก่อนเรียน ( Pretest) และการทดสอบหลังเรียน
( Posttest) โดยใช้สถิติทดสอบ t test Dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 98.67/84.63
2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ตามเกณฑ์
3. นักเรียนปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนโดยใช้ชุดการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความก้าวหน้าทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทั้งในภาพรวม และแยกตามความพร้อม โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผล (EI) เฉลี่ยเท่ากับ 0.85 หรือมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 85.16
ประกาศคุณูปการ
รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดการจัดกิจกรรม
เสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ฉบับนี้สำเร็จเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ได้ เนื่องมาจากความเมตตากรุณา ช่วยเหลือและเอาใจใส่อย่างดียิ่งจากผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท่าข้ามง อำเภอฮอด สำนักงานเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ในการให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ระหว่างการทำการวิจัย เพื่อให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้นและขอขอบคุณคณะผู้เชี่ยวชาญในการช่วยตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วย1) ดร.ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์ ตำแหน่งอาจารย์ประจำหลักสูตรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยด้านการวัดและ ประเมินผล ด้านหลักสูตรและการสอน 2) นางชณิษฐ์นันท์ สุภัคสกุลหิรัญ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านตาลเหนือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน หลักสูตรและการสอน 3)นางสุพัตรา โปธิมอย ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านวังลุง(เพชรประชานุเคราะห์ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านด้าน ด้านการสอนปฐมวัย 4) นายสันติภาพ น๊ะดอก ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโท้งวิทยา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน ด้านภาษาไทย 5) นางภัทราภรณ์ ผลสลัด ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโท้งวิทยา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนปฐมวัย
ขอกราบขอบพระคุณบิดาและมารดา ผู้ซึ่งให้ความรักและกำลังใจ ตลอดจนส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้วิจัยจนประสบความสำเร็จ
ท้ายที่สุดนี้ ผู้วิจัยขอมอบคุณค่าและคุณความดีทั้งหลาย อันเกิดจากรายงานการวิจัยฉบับนี้เป็นเครื่องบูชาแด่บูรพาจารย์ ผู้ประสิทธ์ประสาทวิชาความรู้และบิดามารดาผู้มีพระคุณสูงสุดด้วยความเคารพยิ่ง
นางเอื้อง ปินตาแหลม