สุทธิ์ธัญญารัตน์ แสงทอง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนสะกดคำของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกเสริม
ทักษะ. นนทบุรี : โรงเรียนจันทร์ทองเอี่ยม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี.
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัด
การเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนจันทร์ทองเอี่ยม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี.ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็น
หน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง
การอ่านและเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกดไทยด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 แผน 2) แบบฝึกเสริมทักษะ
ชุด มาตราตัวสะกดไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การอ่านและเขียนสะกดคำ ตามมาตราตัวสะกดไทย ก่อนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.360.64 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.24 0.81 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และแบบสอบถามคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะเป็นแบบมาตราประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จานวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test ) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการศึกษา
1. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะ แตกต่างกันย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกเสริมทักษะ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
มีค่าเฉลี่ย ( = 2.61) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.= 0.49