รายงานผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการ
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2561
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
1. ความเป็นมา/แนวคิด
การพัฒนาพยายามผลักดันประเทศไทยเพื่อให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันทางด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน นอกจากจะนำประเทศไปสู่ความทันสมัยซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศ และประชากรในประเทศอย่างมากมายแล้ว อันได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัยหรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น เป็นต้น แต่ในทางกลับกันได้สร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เกิดผลลบตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของเทคโนโลยีเข้าไปในชนบทโดยที่ประชากรในชนบทส่วนใหญ่ขาด องค์ความรู้ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน เศรษฐกิจชนบทประสบความชะงักงันเพราะตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบทั้งเทคโนโลยีการผลิตและในเชิงการตลาด ภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่แผ่อิทธิผลครอบคลุมไปทั่วประเทศ ราษฎรในพื้นที่ชนบทสูญเสียสมดุล ทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากรายได้ที่ถดถอย ขณะการดำรงชีวิตแบบสมัยใหม่ทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น หนี้สิ้นพอกพูนขึ้นเป็นลำดับ (วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, 2549 : 9) ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติและการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป ปัจจุบันการที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหรือเกราะกำบังจากปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ อันมีที่มาจากปัจจัยเหตุต่าง ๆ ทั้งที่เกิดจากภายในและภายนอกประเทศนั้น ประการสำคัญที่แต่ละประเทศได้มีการหยิบยกและพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง คือ การมุ่งเน้นการทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจ (วิษณุ บุญมารัตน์, 2551 : 42) ความพอเพียงในการดำรงชีวิตก็เป็นเงื่อนไขพื้นฐานหนึ่งที่จะทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองและดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่าง ๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเอง ได้มีความ "พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระองค์ได้ทรงพระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชน และสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ในหลายวโรกาส
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐาน ของชีวิต รากฐานความั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง แต่คนส่วนมากไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำ พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชที่ทรงดำรัสถึงความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี นับตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามา (สุวิชชา เพียงราษฎร์, 2550 : 46)
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวที่ดีพอสมควร ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในวิชาการต่าง ๆ มาวางแผนและการดำเนินการในการดำรงชีวิตต้องสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างความสมดุลให้กับชีวิตโดยรวมได้ สร้างความสมดุลโดยการเกื้อกูลกันระหว่างคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน สร้างความสมดุลและความมั่นคงในชีวิตด้วยการมีเหตุผล มีสติ รู้จักประมาณตนและรู้จักพอ การนำคุณธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันและกัน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภูมิความรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง (วิษณุ บุญมารัตน์, 2551 : 10)
รัฐบาล หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงกำหนดเป็นนโยบายและแผนงานในการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เป็นประธานการประกาศนโยบาย การจัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มกราคม 2558 ที่อาคารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ เป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานกับภาคีความร่วมมือด้านการศึกษาให้มีการดำเนินงานตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและมุ่งสู่ความยั่งยืน (สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ, 2558 : ไม่ปรากฎเลขหน้า)
การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปรับสมดุลของการพัฒนาประเทศในระดับฐานราก คือการปรับทัศนคติและค่านิยมในการดำรงชีวิตให้ อยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง เพื่อนำไปสู่การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ และการอยู่ร่วมกันในสังคมบนหลักการของความพอประมาณ ใช้เหตุผลและไม่ประมาท ผ่านการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบรรจุไว้ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ เพื่อให้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีค่านิยมและอุปนิสัย อยู่อย่างพอเพียง
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีข้าราชการครูและบุคลากรทั้งสิ้น 77 คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 27 คน ครูอัตราจ้าง 26 คน (วิทยากรอิสลามแบบเข้ม) 5 คน พี่เลี้ยง เด็กพิการ 3 คน ธุรการโรงเรียน 1 คน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2561 จำนวนทั้งสิ้น 658 คน แยกเป็นระดับประถมศึกษา จำนวน 188 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 -6 จำนวน 470 คน รวมทั้งสิ้น 658 คน โดยมีเขตพื้นที่บริการจังหวัดยะลา ประชากรในเขตบริการทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษามลายูถิ่นและภาษาไทย ในการสื่อสารในการดำรงชีวิตประจำวัน ประชากรประกอบอาชีพทำการเกษตร รับจ้างทั่วไปและทำงานต่างประเทศ (ประเทศมาเลเซีย) ทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ขาดการเอาใจใส่การเรียนของบุตรหลานเท่าที่ควร ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งนักเรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญที่จะต้องปลูกฝังจิตสำนึกและแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รู้วิธีคิด คำนวณต้นทุนในการผลิตให้มีความพอประมาณ มีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืนต่อไป
ผู้รายงานในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา ได้พยายามศึกษาและหาแนวคิดวิธีการต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เป้าหมาย เพื่อต้องการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวมา จึงเป็นเหตุให้ผู้รายงานได้พัฒนาสถานศึกษาที่จัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือที่เรียกว่า สถานศึกษาพอเพียง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำหลักคิดพอเพียงมาพัฒนาการบริหารสถานศึกษา การสร้างวัฒนธรรมขององค์กร การจัดสภาพแวดล้อม และการจัดการเรียนรู้ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพในทุก ๆ ด้าน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
2. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง
เป้าหมาย
1. ด้านปริมาณ
นักเรียน บุคลากรในสถานศึกษาและนักเรียนจำนวน 735 คน
2. ด้านคุณภาพ
นักเรียน บุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
3. วิธีดำเนินการ
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา มีครูและบุคลากร 77 คน (ข้อมูลปีการศึกษา 2561) มีนักเรียน 658 คน เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบล วังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้น้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเปรียบเสมือนแนวคิดในการพัฒนาคน พัฒนานักเรียนให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต ที่ดี สามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ โดยใช้รูปแบบการบริหารงาน PDCA Model ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการ PDCA หลักการมีส่วนร่วม (Participation) และยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและบริบทของสถานศึกษา
ภาพประกอบที่ 1 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ที่มา : มูลนิธิชัยพัฒนา (2556 : 3)
จากภาพประกอบที่ 1 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือทางสายกลางประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมีเงื่อนไขของการตัดสินใจ และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
รูปแบบการบริหารงาน P-PDCA MODEL
ภาพประกอบที่ 2 รูปแบบการบริหารงาน P-PDCA MODEL
ที่มา : โรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า (2558 : 30)
P-P : Participation Plan : การวางแผนแบบมีส่วนร่วม
P-D : Participation Do : การลงมือกระทำแบบมีส่วนร่วม
P-C : Participation Check : การตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม
P-A : Participation Act : การปรับปรุง แก้ไขแบบมีส่วนร่วม
ผู้รายงานได้ศึกษาหลักการ กฎหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยกระบวนการ PDCA และการมีส่วนร่วม (Participation) ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ ร่วมรับผิดชอบ เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน ด้วยความร่วมมือของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ฯลฯ สู่การดำเนินงานพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2561 โดยจำแนก เป็น 5 ด้าน 1) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และ 5) ด้านผลลัพธ์/ ภาพความสำเร็จ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ภาพประกอบที่ 3 แนวทางการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ที่มา : โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา
1 ) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 นโยบาย
1.1 มีนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษาและ บูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปี
1.2 ดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติงานประจำปีที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
1.3 ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีที่น้อมนำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
1.4 นำผลการติดตามมาพัฒนานโยบาย/แผนงาน/โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
วิธีการ/กิจกรรม
1. กำหนดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. จัดทำโครงการ/กิจกรรม
4. ทำปฏิทินการดำเนินงาน
5. จัดทำแผนการนิเทศ ติดตามและประเมินผล
6. ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมประชุมวางแผน
7. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องทราบ
8. บริหารจัดการสถานศึกษาอย่างเป็นระบบครบวงจร PDCA พร้อมกับกำหนดแนวทาง การดำเนินงานอย่างชัดเจน
องค์ประกอบที่ 2 วิชาการ
2.1 มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
2.2 ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมบูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
2.3 ติดตามผล แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมบูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
2.4 นำผลการติดตามไปพัฒนา แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
วิธีการ/กิจกรรม
1. วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. จัดทำคำอธิบายรายวิชา
3. กำหนดหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ และนิเทศ กำกับ ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
6. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสื่อ นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้
7. ดำเนินการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลายและให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการประเมิน
8. จัดแสดงผลงาน/เผยแพร่
องค์ประกอบที่ 3 งบประมาณ
3.1 มีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 ดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.3 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.4 นำผลการติดตามมาพัฒนาและปรับปรุง การบริหารจัดการงบประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการ/กิจกรรม
1. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบทั้งในและนอกสถานศึกษา
2. ประชุมวางแผนการจัดหางบประมาณสนับสนุนโดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
3. ระดมทุนจากหน่วยงาน องค์กร และชุมชน เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 4 บริหารงานทั่วไป
4.1 บริหารอาคารสถานที่และจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.2 ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน
วิธีการ/กิจกรรม
1. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
2. สำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการพัฒนา วิเคราะห์สภาพความต้องการ ของท้องถิ่น/ชุมชน เพื่อประกอบพิจารณาดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้านในการจัดการเรียนรู้
5. ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน
6. ร่วมรณรงค์ ลด ละ เลิกอบายมุข
7. ให้บริการสถานที่/อุปกรณ์ที่จำเป็น/แหล่งเรียนรู้แก่ชุมชน
8. วัดและประเมินผลการดำเนินงาน
9. ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
2) ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 หน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 มีหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามมาตรฐานการเรียนรู้
1.2 มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.3 มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการ/กิจกรรม
1. จัดทำหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีผลงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
2.1 มีแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
2.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
2.4 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการ/กิจกรรม
1. ประชุมวางแผนร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
2. กำหนดรายวิชา/หน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
องค์ประกอบที่ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.1 จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3.2 จัดทำ/พัฒนา/เผยแพร่ แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.3 ใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่เสริมสร้างการพัฒนาคุณลักษณะ อยู่อย่างพอเพียง ของผู้เรียน
วิธีการ/กิจกรรม
1. วิเคราะห์หลักสูตร/วางแผนการจัดหา/ผลิตและใช้สื่อการเรียนรู้
2. จัดหา และผลิตสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้ผู้เกี่ยวข้อง/ผู้เรียน มีส่วนร่วม
3. พัฒนาแหล่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ร่วมกัน
องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.1 จัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.2 ใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลายและสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.3 รายงานผลการประเมิน และนำมาปรับปรุง/พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.4 จัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
วิธีการ/กิจกรรม
1. ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย สอดคล้องและเหมาะสม กับกิจกรรมตามบริบทของผู้เรียน
2. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีวิธีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงและเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียน
3. ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูวัดและประเมินผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และศักยภาพของผู้เรียนแต่ละวัย
4. มีการวางแผนการนิเทศติดตามตรวจสอบและประเมินผลการวัดและประเมินผล โดยทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
1.1 มีแผนงานแนะแนวเพื่อสนับสนุนการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.3 มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.4 ติดตามผล การจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
1.5 นำผลการติดตามมาใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการ/กิจกรรม
1. ให้นักเรียนประเมินตนเอง สำรวจปัญหา
2. จัดชั่วโมงแนะแนวเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพ ทักษะชีวิต
3. จัดกิจกรรมสร้างภูมิคุ้ม กิจกรรมเสริมที่สนใจ Home room เยี่ยมบ้าน เข้าค่ายพัฒนาคุณธรรม ค่ายลูกเสือเนตรนารีและกีฬา
4. จัดแหล่งเรียนรู้ภายนอก นิทรรศการ ผลผลิต
5. ขยายเครือข่ายผู้ปกครอง
องค์ประกอบที่ 2 กิจกรรมนักเรียน
2.1 มีแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนอยู่อย่างพอเพียง
2.2 จัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.3 ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง ชุมนุม/ชมรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.4 มีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรม/หลักคำสอนทางศาสนาในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.5 ติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.6 นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนากิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการ/กิจกรรม
1. บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตร วิชาลูกเสือ เนตรนารี ชุมนุม
2. จัดกิจกรรมฝึกอบรม เข้าค่ายฯ
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
3.1 มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา พัฒนาสถานศึกษา ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.3 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.4 นำผลการติดตามาปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ของผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการ/กิจกรรม
1. กำหนดกิจกรรม
2. วางแผนดำเนินการ
3. ดำเนินการตามแผน
4. แสดงผลงาน สรุป ประเมินผล
4) ด้านการพัฒนาบุคลกรของสถานศึกษา มี 2 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 มีแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่
1.3 ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างสม่ำเสมอ
1.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรของสถานศึกษา
วิธีการ/กิจกรรม
1. วิเคราะห์ภารกิจ ประเมินสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการที่จะพัฒนาตนเองบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. กำหนดแนวทาง/ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความจำเป็นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
4. อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานเกี่ยวกับชีวิตที่พอเพียงจากโรงเรียนที่เป็นแบบอย่างดำเนินชีวิตแบบอย่างพอเพียง ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
5. นิเทศ ติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 2 การติดตามและขยายผล
2.1 ติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.3 ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีการ/กิจกรรม
1. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสร้างเครื่องมือ ติดตาม ประเมินผล
2. แต่งตั้งคณะกรรมการ ติดตาม ประเมินผลและจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์
3. จัดกิจกรรมส่งเสริมคนดี มีคุณภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ประชาสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร
6. สรุปผลการติดตาม ประเมินผล จัดทำรายงานเอกสารประชาสัมพันธ์
5) ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 สถานศึกษา
1.1 คุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง
วิธีการ/กิจกรรม
1. ประเมินสภาพความสำเร็จของสถานศึกษา
2. รวบรวมกิจกรรม/ความสำเร็จ ที่สถานศึกษาภาคภูมิใจ
3. นำผลการประเมินไปเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาและผดุงคุณภาพ
องค์ประกอบที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา
2.1 คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียง
วิธีการ/กิจกรรม
1. ประเมินคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียง
2. รวบรวมกิจกรรม/ความสำเร็จ ที่ภาคภูมิใจ
องค์ประกอบที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษา
3.1 บุคลากรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 บุคลากรจัดการทรัพยากรและดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจอย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
3.3 บุคลากรอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเพื่อส่วนรวมและสาธารณประโยชน์
3.4 บุคลากรรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและพร้อมรับ ต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
3.5 บุคลากรดำเนินชีวิตอย่างมีฐานรากทางวัฒนธรรม และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ทางวัฒนธรรมจากกระแสโลกาภิวัฒน์
วิธีการ/กิจกรรม
1. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อสร้างเครื่องมือ ติดตาม ประเมินผล
2. แต่งตั้งคณะกรรมการ ติดตาม
3. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร
4. สรุปผลการติดตาม ประเมินผล
องค์ประกอบที่ 4 ผู้เรียน
4.1 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา
4.2 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ
4.3 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม
4.4 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม
4.5 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม
วิธีการ/กิจกรรม
1. การจัดกิจกรรมเรียนรู้
2. สรุปผล ประเมินผล
โดยมีการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาจากสถานศึกษาเอง ผู้ประเมินภายนอกและผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนให้อยู่อย่างพอเพียงโดยพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ผลที่ได้รับจากการพัฒนาสถานศึกษาและประสบความสำเร็จ
ผลจากการดำเนินงานพัฒนาสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2561 ทำให้สถานศึกษาได้รับผลจากการพัฒนาสถานศึกษา และประสบความสำเร็จ ดังนี้
1) ผลของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาจำแนกเป็น 5 ด้าน ดังนี้
1.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
1.2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้และบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกระดับชั้นนำสู่ความสมดุลด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
1.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เกื้อกูล ส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมสนองความสนใจ ความถนัด ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
1.4.1 ผู้บริหาร ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.4.2 นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมนำความรู้และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
1.4.3 ผู้ปกครอง ชุมชน มีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ
1.5.1 ผลที่เกิดกับสถานศึกษา
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสถานศึกษาสูงขึ้น
- สถานศึกษาได้รับรางวัลประเภท โรงเรียนที่มีผลการดำเนินงานระดับดีเยี่ยม กิจกรรมประกวดโรงเรียนต้นแบบด้านการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดยะลา ปี 2561 โครงการตามพระดำริจังหวัดยะลา
1.5.2 ผลที่เกิดกับผู้บริหารสถานศึกษา
- การปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นที่ยอมรับของครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งภายใน และนอกสถานศึกษา
- การปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นที่ยอมรับ ไว้วางใจจากผู้ปกครองและชุมชน
1.5.3 ผลที่เกิดกับครู
- การปฏิบัติงานของครูเป็นที่ยอมรับ ไว้วางใจจากผู้ปกครองและชุมชน
- นายรังสิรัตน์ โกสัยยะ ได้รับรางวัลเหรียญทองครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน ทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- นางโชติกา โกสัยยะ ได้รับรางวัลเหรียญทองครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน ทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- นายจริน หนูขำ ได้รับรางวัลเหรียญเงินครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่าย พักแรม ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- นายศราวุธ อาดัม ได้รับรางวัลเหรียญเงินครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่ายพักแรม ระดับชั้น ม.1-ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- นางสาวรอบียะ แต ได้รับรางวัลเหรียญเงินครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน แกะสลักผักผลไม้ ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- นางสาวอาอีเสาะ มะแมง ได้รับรางวัลเหรียญเงินครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน แกะสลักผักผลไม้ ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- นางสาวรอสนะห์ มะลี ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน ทำอาหาร ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- นางสาวระวิวรรณ นวลจันทร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน ทำอาหาร ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้นป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- นางสาวนูรีดา เจ๊ะนิ ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน โครงงานคณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป.4 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถ ทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- นายสุไลมาน มะ ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ครูผู้สอนนักเรียนกิจกรรมการแข่งขัน โครงงานคณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป.4 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- นายรุสลี เจ๊ะแต ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ครูผู้สอนนักเรียนกิจกรรมการแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.4 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- นางอานูรา ลอแม ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ครูผู้สอนนักเรียนกิจกรรมการแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.4 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- นางสาวซิลมีย์ กาเซ็ง ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุเหลือใช้ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.4 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- นางสาวยามีล๊ะ บือราแง ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ครูผู้สอนนักเรียน กิจกรรมการแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุเหลือใช้ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.4 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
1.5.4 ผลที่เกิดกับนักเรียน
- เด็กชายตัรมีซี ดือราแม ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่ายพักแรม ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กชายธนายุธ สินนุรัตน์ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่ายพักแรม ระดับชั้น ม.1-ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กชายฟุรกอน มะแซ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่ายพักแรม ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กชายมะรอพี เมาะสะดารอ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่าย พักแรม ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กชายมูฮัมหมัด อาเยาะแซ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่าย พักแรม ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กชายอัฟนาน สาอุ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่ายพักแรม ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กชายอามีนส์ หูเขียว ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่ายพักแรม ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กชายอิบรอเฮง สะรีดอง ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน การจัดค่ายพักแรม ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กหญิงพาญีลา เจะเละ ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขัน การทำอาหาร คาวหวานเพื่อสุขภาพ ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กหญิงอิฟฟัต ตาเยะ ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขัน การทำอาหาร คาวหวานเพื่อสุขภาพ ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กหญิงฮูดา กามาแน ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขัน การทำอาหาร คาวหวานเพื่อสุขภาพ ระดับชั้น ม.1 - ม.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กหญิงนูรีซัน ต่วนยี ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน แกะสลักผักผลไม้ ระดับชั้น ม.4 - ม.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- นายอารีฟิน ดะเซะ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน แกะสลักผักผลไม้ ระดับชั้น ม.4 - ม.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- นายอารีสา เจะแวสุหลง ได้รับรางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขัน แกะสลักผักผลไม้ ระดับชั้น ม.4-ม.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการและเทคโนโลยี ระดับชาติ ประจำปี 2561
- เด็กชายซูกอรนัย สาแล ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 1 กิจกรรมการแข่งขัน การทำอาหาร ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถ ทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กหญิงนุรไอนี มิง ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 1 กิจกรรมการแข่งขัน การทำอาหาร ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถ ทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กหญิงโนรอาซียัน มะแร ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 1 กิจกรรมการแข่งขัน การทำอาหาร ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กหญิงฟารีซา มะลี ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 2 กิจกรรมการแข่งขัน โครงงานคณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป.4 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กหญิงฟิรกอน สะมะแฮ ได้รับรางวัลเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 2 กิจกรรมการแข่งขัน โครงงานคณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป.4 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กชายมะตาซัน สะมะ ได้รับรางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 2 กิจกรรมการแข่งขัน โครงงานคณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป.4-ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กชายบัซรี สาลี ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 1 กิจกรรมการแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเหลือใช้ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กหญิงยัสมี จันทร์เล็ก ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 1 กิจกรรมการแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเหลือใช้ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กชายอิรฟาน สุหลง ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 1 กิจกรรมการแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเหลือใช้ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กชายซาการียา ขาเดน ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 2 กิจกรรมการแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเหลือใช้ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กชายมูฮัมหมัดซูเบร เจ๊ะแว ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 2 กิจกรรม การแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเหลือใช้ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กชายอภิสิทธิ์ โต๊ะกาพอ ได้รับรางวัลเหรียญเงินรองชนะเลิศอันดับที่ 2 กิจกรรมการแข่งขัน ประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเหลือใช้ ประเภทนักเรียนที่มีความบกพร่อง ระดับชั้น ป.1 - ป.6 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการและเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
- เด็กชายปฏิภาณ วงศ์หฤทัย ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง กิจกรรมการแข่งขัน วรรณกรรมพิจารณ์ ระดับชั้น ป.1 - ป.3 งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยี ยะลา ยาลัน ประจำปี 2561
2) ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่อย่างพอเพียง ในการดำเนินชีวิต ดังนี้
2.1 ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง เห็นประโยชน์และตระหนัก ถึงความสำคัญ ความจำเป็นในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาตนเอง สถานศึกษาและพัฒนาชุมชน
2.2 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการพัฒนาอาชีพ ใช้และพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้คุ้มค่า ได้ประโยชน์สูงสุดและมีความยั่งยืน มีทักษะและเห็นคุณค่าของการ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสถานศึกษา อย่างไม่เบียดเบียน มีความสงบสุขและรู้รักสามัคคี สืบสานและพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น รักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
2.3 ผู้เรียนปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักประมาณตน รู้จักศักยภาพของตนที่มีอยู่ตามความเป็นจริง ปฏิบัติตนอย่างมีเหตุผลโดยใช้สติปัญญา ความรอบรู้ รอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัว พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน เพียรพยายาม แบ่งปัน มีสติปัญญา มีวินัย พึ่งตนเอง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รับผิดชอบ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ดังนั้น การประยุกต์ปลูกฝังการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้วิชาการและทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรมจนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคน ในสังคมและอยู่ร่วมกับระบบนิเวศวิทยาอย่างสมดุลเพื่อจะได้มีความเกรงกลัวและละอายต่อการประพฤติผิด มิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้ เกื้อกูล แบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ หรือกระทำการใด ๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรงชีวิตโดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐาน ของความมีเหตุมีผล พอเหมาะพอประมาณกับสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคลในแต่ ละสถานการณ์แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้จนตนสามารถทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาทุกท่านมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงทุกด้านโดยเฉพาะด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นแบบอย่างกับชุมชนได้
5. ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้ผู้บริหารการศึกษา ผู้ บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู และบุคลากร ที่เกี่ยวข้องประสานงานและร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ นิเทศ และประเมินผลการดำเนินการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และขยายผลการดำเนินงานสู่สถานศึกษาอื่น ๆ ต่อไป
2. โรงเรียนควรหาวิธีการประชาสัมพันธ์โรงเรียน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้ปกครอง ชุมชน ได้เห็นถึงความสำคัญและเข้ามาศึกษาดูงานในโรงเรียน เต็มใจที่จะให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา โดยร่วมแรงร่วมใจ รับผิดชอบ พัฒนาสถานศึกษา ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาและพัฒนาสถานศึกษาด้านอื่น ๆ ต่อไป
(ลงชื่อ) ผู้ขอรับการประเมิน
( นายมามะซูฟี อารง )
ผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา
วันที่ ๑๔ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
บรรณานุกรม
ราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา, โรงเรียน. (2558). แผนปฏิบัติการประจำปีโรงเรียนราชประชา นุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา ปีการศึกษา 25561 ยะลา : โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา.
. . (2561). รายงานประจำปีโรงเรียนประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา ปีการศึกษา 2561. ยะลา : โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา.
ชัยพัฒนา, มูลนิธิ. (2556). เศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
รัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. (2558). ศูนย์ขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา [Online], เข้าถึงได้จาก : http : //www.moe.go.th/.
[2558, มกราคม 23].
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2549). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย.
กรุงเทพ : แสงดาว.
วิษณุ บุญมารัตน์. (2551). ทางรอดในภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง.
กรุงเทพ : ดอกหญ้าวิชาการ.
สุวิชชา เพียงราษฎร์. (2550). 10 วิกฤติชาติ 50. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์.