บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์การพัฒนาครู
ด้านการวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเป็นฐาน
3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเป็นฐาน ก่อนพัฒนากับหลังพัฒนา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 306 คน โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling technique) เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเป็นฐาน โดยรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับน้อยที่สุด และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการศึกษาความคาดหวังที่มีต่อการวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่า ต้องการให้ครู
ได้พัฒนาด้านการวิจัยในชั้นเรียน อยากให้ครูมีความรู้และทักษะขั้นพื้นฐานไปถึงขั้นสามารถทำรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนได้ นำผลการวิจัยไปใช้ในแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน นำวิจัยไปใช้
เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาครู พบว่า การที่จะให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนควรทำให้ครูเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ครูได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย มีการนิเทศติดตามและประเมินผลการทำวิจัยในชั้นเรียน ตลอดจนการมีพี่เลี้ยงเพื่อให้
ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำในการทำวิจัยในชั้นเรียน
3. ผลการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเป็นฐาน ก่อนพัฒนากับหลังพัฒนา
3.1 ผลการเปรียบเทียบความรู้ของครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน ระหว่างก่อนกับหลัง
การพัฒนา พบว่า ครูมีความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเป็นฐาน หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา
3.2 ผลการเปรียบเทียบความรู้ของครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน กับเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียน หลังการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ผลการเปรียบเทียบความสามารถของครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน กับเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถของครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน หลังการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเป็นฐาน พบว่า
ครูมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด