ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียน
โรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม
ผู้วิจัย นางสาวเอมอร ศรีวรชิน
ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม
ปีที่ดำเนินการวิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการพัฒนา สมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนแห่ง
การเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม จำนวน 11 คนและนักเรียนจำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน แบบสอบถามความต้องการ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบรับรองรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อ
เสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม 1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เชิงวิชาชีพ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และสมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม 1.2 การศึกษาความต้องการในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เชิงวิชาชีพ พบว่า รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก ควรเป็นรูปแบบที่มีความหลากหลาย เกิดจากความสมัครใจของครู และสามารถเข้าถึงได้ง่ายและดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สารถพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนได้จริง
2. รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ มีผลการพัฒนา คือ 1) องค์ประกอบ
ของรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ และ 2) กระบวนการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ องค์ประกอบของรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่สร้างขึ้นมีลักษณะเชิงปฏิบัติการ (Operational Model) ชื่อว่า CSIPA Model โดยมีองค์ประกอบประกอบด้วย 1) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community Setting: C) 2) การเรียนรู้ร่วมกัน (Share and Learn: S) 3) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ (Instructional Design: I) 4) การปฏิบัติจริงและกากรประเมินผลการปฏิบัติ (Performance and Evaluation: P) และ
5) การทบทวนการปฏิบัติ (After Action Review: AAR: A) โดยมีเงื่อนไข 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการ และ 2) บรรยากาศแห่งการเรียนรู้
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียนทัพรั้งพิทยาคม 1) ความรู้ความเข้าใจของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หลังจัดกิจกรรมการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม 2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อยู่ในระดับมาก 3) ความคิดเห็นของครู ที่มีต่อรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัด การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนโรงเรียน ทัพรั้งพิทยาคม อยู่ในระดับมาก 4) สมรรถนะด้านทักษะชีวิตของผู้เรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยมร้อยละ 95.50