บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้รายงาน สุทาทิพย์ สุขวิสุทธิ์
ปีการศึกษา 2553
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผล 0.50 ขึ้นไป (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่าน ก่อนเรียน - หลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดอนไทรงาม ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ
ประชากรในการศึกษา สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive or Judgment Sampling) เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดอนไทรงาม จำนวนนักเรียน 33 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าประสิทธิภาพ ( /E2)หาค่าประสิทธิผล (EI) และทดสอบค่าที (t - dependent) ผลการศึกษาโดยสรุปมี ดังนี้
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 คือ 82.12/80.76 และประสิทธิผลผ่านเกณฑ์0.50 ขึ้นไป โดยมีค่าประสิทธิผล 0.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
2. ค่าการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดอนไทรงาม พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.60 โดยผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด