ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21
โดยผ่านกิจกรรมมีความสุขสนุกกับ 4H โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง
เทศบาลนครขอนแก่น
ผู้วิจัย นางยุภาพร โฆษิตพิมานเวช
สถานที่ โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา(Research and Development)มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษา ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ และ 3) เพื่อจัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมมีความสุขสนุกกับ 4H โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น ดําเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอน ที่ 1 การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกําหนดรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้จากเอกสารงานวิจัยและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 7 คน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการวัตถุประสงค์กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้น ICCRU Model ขั้นที่ 1 เกิดแรงบันดาลใจ (Inspire : I) ขั้นที่ 2 เลือกสนใจตามถนัด (Choose and pay attention on self-aptitude : C) ขั้นที่ 3 เป้าหมายชัดปฏิบัติตามแผน (Clear goal and follow plan : C) ขั้นที่ 4 สะท้อนแก่นการเรียนรู้ (Reflect the knowledge : R) ขั้นที่ 5 การยกระดับสู่คุณภาพ (Upgrade to quality : U) การวัดและประเมินผลปัจจัยสนับสนุนและเงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและนักเรียนจากสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โดยผ่านกิจกรรมมีความสุขสนุกกับ 4H จํานวน 10 โรงเรียน ที่เลือกมาโดยการสุ่มแบบเจาะจงและหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู่ และขั้นตอนที่ 4 การรับรองรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ขยายผลและ จัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ฉบับ คือ 1) ประเด็นการสนทนากลุ่ม 2) ประเด็นสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship) 3) แบบประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยวิธีการคิด วิธีการทํางาน เครื่องมือในการทํางาน และการดํารงชีวิตในโลก เป็นแบบมาตร ประมาณค่ามีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.948 , 0.955, 0.972 และ 0.968 ตามลําดับ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุข และแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.868 และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อ รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมมีความสุขสนุกกับ 4H โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ได้แก้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล 5) ปัจจัยสนับสนุน 6) เงื่อนไขสําคัญในการนํารูปแบบไปใช้ โดยในกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ICCRU Model ขั้นที่ 1 เกิดแรงบันดาลใจ (Inspire : I) ขั้นที่ 2 เลือกสนใจตามถนัด (Choose and pay attention on self-aptitude : C) ขั้นที่ 3 เป้าหมายชัดปฏิบัติตามแผน (Clear goal and follow plan : C) ขั้นที่ 4 สะท้อนแก่นการเรียนรู้ (Reflect the knowledge : R) ขั้นที่ 5 การยกระดับสู่คุณภาพ (Upgrade to quality : U) การวัดและประเมินผลปัจจัยสนับสนุนและเงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ มีความเหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมมีความสุขสนุกกับ 4H โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนด ดังนี้
2.1 ผู้เรียนที่ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยผ่านกิจกรรมมีความสุขสนุกกับ 4H โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น ได้แก่ 1) ความสามารถในวิธีการคิดเกี่ยวกับการคิดแก้ปัญหาการคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 2) ความสามารถในวิธีการทํางานเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารและการร่วมมือทํางานเป็นทีม 3) ความสามารถในการใช้เครื่องมือการทํางานเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสารสนเทศ การรู้เท่าทันสื่อ และ การรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) การประพฤติและปฏิบัติในการดํารงชีวิตเกี่ยวกับเป็นพลเมือง และพลโลกความรู้ ทักษะ และเจตคติอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2.2 ผลการประเมินความสุขในการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนให้ความร่วมมือในการทํากิจกรรมต่าง ๆ มีความกระตือรือร้นในการหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในและนอกห้องเรียน กล้าแสดงความคิดเห็น ในมุมมองที่แตกต่างกันด้วยความมั่นใจ แสดงแนวคิดที่แปลกใหม่หลากหลายในการแก้ปัญหา ผู้เรียน มีการนําเสนอเหตุผลในการเรียนรู้และท้าทาย นําเสนอผลงานจากการระดมความคิด การวิพากษาและให้ ข้อเสนอแนะนอกจากนี้ผู้เรียนสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความประทับใจที่ได้เรียนรู้ และฝึกทักษะรวมทั้งสามารถนํามาเป็นแนวทางในการเรียนรู้ของตนเอง
2.3 ครูมีความคิดเห็นหลังทดลองใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะ ในศตวรรษที่21 ผ่านกิจกรรมมีความสุขสนุกกับ 4H โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและสามารถนําไปใช้ได้จริง มีกระบวนการที่เป็นไปได้
3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมมีความสุขสนุกกับ 4H โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น โดยดําเนินการใน 3 ระดับ คือ
3.1 ระดับสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรสร้างความรู้ความเข้าใจและ ความตระหนักในกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องการส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการเรียนรู้และการนิเทศ กํากับ ติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
3.2 ระดับเทศบาล ควรสื่อสารและสร้างความตระหนัก สนับสนุน ส่งเสริมและอํานวยความสะดวกแก่สถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาครู ผู้บริหาร กรรมการสถานศึกษาและชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจการประเมินผลรูปแบบเพื่อการปรับปรุงพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.3 ระดับสถานศึกษา ควรดําเนินการวิจัยและพัฒนาต่อยอดกระบวนการจัดการเรียนรู้ใน ลักษณะของการนิเทศ กํากับติดตามเน้นกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง ( coaching & mentoring) ของสถานศึกษาและการเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ