บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วัตถุประสงค์การวิจัยได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของครูที่สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อหาค่าประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน กำหนดเอาประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง 2) ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน กำหนดเอาประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 22 ข้อ ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.65 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8746 2) แผนการจัดประสบการณ์จำนวน 10 แผน ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.58 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 10 ชุด ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.68 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8959 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 18 ข้อ ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.69 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่า 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.9257 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และความพึงพอใจของนักเรียน ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design ทดสอบก่อนการทดลอง (Pre-test) ทดลองสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (Treatment) และทดสอบหลังการทดลอง (Post-test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ E1/E2 หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้ t-test ทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดประสบการณ์และเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน ใช้ E.I. วิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้ IOC วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจัดประสบการณ์ ใช้สถิติของแบรนแนน (Brennan) หาค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สถิติตามวิธีของโลเวท (Lovett) หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และความพึงพอใจของนักเรียน (rcc) และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (X-bar ) ร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า
1. โดยรวมปัญหาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของครู พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ( =4.09)
2. โดยรวมแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 76.70 คิดเป็นร้อยละ 76.70
3. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จึงเท่ากับ 78.64/76.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4. ประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เท่ากับ 0.6572 แสดงว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ชุดนี้ ทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 65.72 สูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้
5. เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้
6. โดยรวมความพึงพอใจของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง และก่อนเรียนและหลังเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และปานกลาง ( =4.54 และ 3.05 ตามลำดับ)เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบถามความพึงพอใจหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้