รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) ของโครงการ และ 4) ประเมินผลผลิต (Product evaluation) ของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) 2 ประเภท คือ ครู และนักเรียน ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 มีจำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาวะแวดล้อม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการดำเนินงาน 4) ด้านผลผลิต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน () และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี ครูและนักเรียนโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี มีความคิดเห็นโดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากทุกด้าน (=4.35,=0.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามลำดับดังนี้ ด้านผลผลิต (=4.46,=0.82) ด้านกระบวนการดำเนินงาน(=4.38,=0.77) ด้านปัจจัยนำเข้า (=4.33,=0.74) และด้านสภาวะแวดล้อม (=4.25,=0.69)
2. ด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี ครูและนักเรียนโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี มีความคิดเห็นในภาพรวมมีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
(=4.50,=0.71) รองลงมาคือ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน (=4.42,=0.71) ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุดคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน (=4.23,=0.93)
3. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี ครูและนักเรียนโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี มีความคิดเห็นในภาพรวมมีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก (=4.33,=0.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อและระดับมาก 11 ข้อ โดยข้อที่มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุดคือ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมตามโครงการเป็นผู้มีความรู้ ความสนใจ ความสามารถเหมาะสมและเพียงพอ (=4.52,=0.67) รองลงมาคือ จำนวนบุคลากรที่ดำเนินโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอสำหรับการดำเนินโครงการ (=4.42,=0.64) ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุดคือ ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมเพาะเห็ด(=3.94,=1.00)
4. ด้านกระบวนการดำเนินงาน ( Process evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี ครูและนักเรียนโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี มีความคิดเห็นในภาพรวมมีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก (=4.38,=0.77) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุดคือ การกำหนดขั้นตอนการจัดทำโครงการมีความชัดเจน(=4.48,=0.67) รองลงมาคือ สาระเนื้อหาตามองค์ประกอบของโครงการมีความชัดเจนและนำไปปฏิบัติได้ (=4.45,=0.73) ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือ การกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการมีความชัดเจน (=4.26,=0.82)
5. ด้านผลผลิต ( Product evaluation) ของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสุเหร่าบางกะสี ครูและนักเรียนโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี มีความคิดเห็นในภาพรวมมีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก (=4.46,=0.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อ ระดับมาก 12 ข้อ โดยข้อที่มีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมมากที่สุดคือ ผลการดำเนินกิจกรรมถั่วงอกคอนโดทำให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการปลูกพืช (=4.65,=0.55) และผลการดำเนินกิจกรรมพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ทำให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการปลูกพืชชนิดต่างๆ (=4.65,=0.55) รองลงมาคือ ผลการดำเนินกิจกรรมถั่วงอกคอนโด ทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในครอบครัวของตนเองได้ (=4.65,=0.60) ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุดคือ ผลการดำเนินกิจกรรมสร้างงาน สร้างอาชีพ ทำให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และมีจิตอาสา (=4.11,=0.83)