1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เป็นการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาได้อย่างคล่องแคล่ว โดยจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส เล่นเกม การศึกษา ฝึกช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม และใช้วัสดุ อุปกรณ์ศิลปะ เช่น สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว (กระทรวงศึกษาธิการ. 25860 : 43) ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยกล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นอวัยวะหนึ่งในการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น การใส่ การถอดกระดุม รูดซิป การแปรงฟัน ผูกเชือกรองเท้า งานศิลปะ รวมทั้งการขีดเขียน ถ้าเด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่วจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก (อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล. 2546:111)
การเล่นต่อบล็อคสามารถเริ่มเล่นได้ตั้งแต่เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป โดยในช่วงแรกอาจเลือกบล็อคที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถหยิบจับได้ง่าย เพราะในช่วงวัยนี้เด็กจะใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดีขึ้น พวกเขาจะเริ่มอยากหยิบจับและทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเอง อยากขีดเขียน อยากจับช้อนกินข้าวเอง ซึ่งการเล่นต่อบล็อคนั้นจะช่วยฝึกให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น การใช้มือกดหรือต่อบล็อคในแต่ละชิ้นจะช่วยพัฒนาให้กล้ามเนื้อนิ้ว มือ ข้อมือ แข็งแรงขึ้น ส่งผลให้เด็กสามารถใช้มือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหนังสือ หยิบสิ่งของ หรือกินข้าว การเล่นต่อบล็อคนั้น เปรียบเสมือนการฝึกให้ลูกได้ทำงานหนึ่งชิ้น เพราะในการต่อแต่ละครั้ง ขั้นแรกลูกต้องมีการวางแผนว่าอยากจะต่อเป็นรูปอะไร จากนั้นลูกก็จะต้องมีการสังเกตและแยกแยะชิ้นส่วนแต่ละส่วนว่าจะสามารถนำมาต่อตามแบบที่ตัวเองได้วางแผนไว้หรือไม่ และเมื่อต่อไปสักพัก ลูกอาจเกิดปัญหา บล็อคอาจถล่มหรือไม่ได้สมดุล ลูกก็ต้องเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา ลองผิดลองถูก จนกว่าจะต่อบล็อคได้สำเร็จ การต่อบล็อคจัดเป็นของเล่นปลายเปิดที่ช่วยฝึกการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ทุกครั้งที่ลูกเล่นต่อบล็อค ลูก ๆ จะเรียนรู้กระบวนการหาวิธีใหม่ ๆ ในการต่อ สร้าง หรือประกอบสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ลูกจะเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นต้น ด้วยการสังเกตโครงสร้าง และรับรู้เรื่องแรงโน้มถ่วง เวลาที่ต่อแล้วบล็อกหล่นลงมาลูกจะได้ฝึกการใช้ทักษะคณิตศาสตร์ในการนับและคำนวณ ว่าจะใช้บล็อคกี่ชิ้นในการสร้างผลงาน หรือลูกจะได้ฝึกสังเกตเปรียบเทียบความยาว ความกว้างของรูปทรงบล็อคในแต่ละชิ้น และที่สำคัญในการเล่นถ้าพ่อแม่ให้ความสนใจในการทำกิจกรรมร่วมกับลูก ชักชวนให้ลูกพูดคุยและเล่าถึงกิจกรรมนั้น ๆ ก็จะช่วยส่งเสริมให้ลูกเกิดทักษะในการใช้ภาษาที่ดีขึ้นด้วย (สุภาพรรณ ศรีสุข. 2561
จากการจัดประสบการณ์การสอนในระดับชั้นอนุบาลโรงเรียนวัดสุวรรณคีรี พบว่านักเรียนยังมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กที่เกี่ยวกับการใช้นิ้วมือและการประสานสัมพันธ์มือกับตาในด้านความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่น และความสามารถในการการควบคุมการประสานกันไม่ดีเท่าที่ควรและเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อเล็กให้ดียิ่งขึ้นและเหมาะสมกับวัย ข้าพเจ้าซึ่งเป็นครูผู้สอนจึงคิดหาวิธีการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กโดยใช้ชุดกิจกรรมบล็อกสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการใช้และพัฒนากล้ามเนื้อเล็กให้มีความแข็งแรงเหมาะสมกับวัยต่อไป
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อเล็กที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้มือและนิ้วมือในการทำงานให้ประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา
2.2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
2.3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน กระบวนการผลิตผลงานรูปแบบวิธีการในการพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ
3.1 วิเคราะห์สภาพปัญหาจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3.2 ศึกษาหลักสูตร มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและตัวบ่งชี้
3.3 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
3.4 วางแผน จัดหาและผลิตสื่อ โดยกำหนดจุดมุ่งหมายและรูปแบบของสื่อให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
3.5 ผลิตสื่อชุดบล็อกสร้างสรรค์ตามขั้นตอนและนำไปใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ของโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีและประเมิน
4. ผลการดำเนินการ / ผลสัมฤทธิ์ / ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
1 เด็กมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อเล็กที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้มือและนิ้วมือในการทำงานให้ประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตาดีขึ้น
2 เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
3 เด็กมีพัฒนาการด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การขยายผล ต่อยอดหรือประยุกต์ใช้ผลงาน นวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติ
8.1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในกลุ่ม PLC ในกลุ่มครูปฐมวัยเพื่อถ่ายทอดและขอคำแนะนำในการใช้ชุดกิจกรรม
8.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในโรงเรียนเพื่อถ่ายทอดและนำรูปแบบการประยุกต์ใช้ชุดกิจกรรมไปใช้สำหรับการพัฒนาเด็กระดับประถมศึกษา
ข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้ผลงาน
1. นำนวัตกรรมเรื่องการใช้ชุดกิจกรรม บล็อกสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การคิดแบบเป็นเหตุและผล
2. มีการพัฒนาบล็อกให้มีรูปแบบที่หลากหลายโดยมีเนื้อหาที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย เช่น บล็อกพยัญชนะไทย ก- ฮ บล็อกตัวอักษร A Z
3. ใช้ชุดกิจกรรม บล็อกสร้างสรรค์ โดยต่อบล็อกตามรูปแบบที่กำหนดตามขึ้นตอน เพื่อพัฒนาทักษะด้านการคิดและการทำงานที่เป็นระบบ