ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการการจัดการขยะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในโรงเรียนเกาะหมากน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
ชื่อผู้ประเมิน นางนิลมณี ศรีม่วง
ปีที่ประเมิน 2562
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการการจัดการขยะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน เกาะหมากน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เป็นการศึกษาโดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการตามวัตถุประสงค์ ใช้รูปแบบการประเมินของไทเลอ 1) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงาน 2) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 3) เพื่อศึกษาประโยชน์และข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ กำหนดขนาดของกลุ่มตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ประกอบด้วยนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกาะหมากน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา จำนวน 105 คน ครูและบุคลากรโรงเรียนเกาะหมากน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา จำนวน 17 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเกาะหมากน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ประกอบการบรรยาย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
นักเรียน มีความคิดเห็นด้านกระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการว่ามีความเหมาะสม/มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากอันดับ 1 (X-=4.40) คือกิจกรรมการคัดแยกขยะ รองลงมาอยู่ในระดับมากอันดับ 2 ( x-=4.30) คือกิจกรรมรีไซเคิล
และอยู่ในระดับมากอันดับ 3 (x-=4.24) คือกิจกรรม 5 ส. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ คือ 1) ได้ความรู้และวิธีการปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ที่บ้านได้จริง 2) โรงเรียนมีความสะอาด สวยงาม 3) เห็นคุณค่าของขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทิ้ง ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ขยะทั่วไปเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ให้หมดไปได้ยังจำเป็นต้องเผาจึงควรมีที่เผาที่มีคุณภาพ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นด้านกระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการว่ามีความเหมาะสม/มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากอันดับ 1 ( x-=4.34) คือกิจกรรมรีไซเคิล รองลงมาอยู่ในระดับมากอันดับ 2 (x- =4.18) คือกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ และอยู่ในระดับมากอันดับ 3 ( x-=4.15) คือกิจกรรมคัดแยกขยะ ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ 1) เกิดความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการช่วยสนันสนุนกิจกรรมการลดขยะ 2) นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะและเกิดนิสัยรักความสะอาดจากการลงมือทำ ซ้ำ ๆ 3) โรงเรียนมีความสะอาด สวยงาม และเป็นระเบียบมากขึ้น ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ 1) การจัดการขยะทั่วไปที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้ไม่สามารถจัดการขยะทั่วไปให้ถูกวิธีตามกระบวนการได้ 2) การขนส่ง ขนย้ายขยะทั่วไปขึ้นฝั่งเป็นการจัดการที่ยุ่งยากและต้องมีค่าใช้จ่าย จึงควรขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นด้านกระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการว่ามีความเหมาะสม/มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดอันดับ 1 (x- =4.87) คือกิจกรรม 5 ส. รองลงมาอยู่ในระดับมากอันดับ 2 (x-=4.18) คือกิจกรรมรีไซเคิล และอยู่ในระดับมากอันดับ 3 (x-=4.17) คือกิจกรรมคัดแยกขยะมีระดับเท่ากันกับกิจกรรมธนาคารขยะ ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ 1) นักเรียน นำความรู้ไปใช้ที่บ้านทำให้บ้านมีความสะอาดเรียบร้อยขึ้น 2) การทำน้ำหมักชีวภาพนอกจากช่วยลดปริมาณขยะเปียกหรือเศษอาหารแล้วยังมีประโยชน์กับดินคือช่วยให้ดินมีสภาพดีเหมาะแก่การปลูกพืชผักให้งอกงามได้ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้ปกครองบางส่วนที่ยังไม่ได้เรียนรู้และไม่เข้าใจการจัดการขยะ ไม่มีการคัดแยกขยะ ไม่มีการจัดการขยะที่ถูกวิธี มีการเผาบ่อยครั้งส่งกลิ่นเหม็นรบกวนคนอื่น ควรส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนได้รับรู้สารสนเทศด้านการจัดการขยะและส่งเสริมกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธีให้เป็นวิถีตลอดจนช่วยกันรณรงค์การลดขยะให้มากขึ้น