บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาความสามารถในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล โดยใช้แบบสอบถามกับครูการศึกษาพิเศษและพี่เลี้ยงเด็กพิการที่ทำงานในโรงเรียนเฉพาะความพิการในจังหวัดพิษณุโลก 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูลในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยใช้แ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูลในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับครูการศึกษาพิเศษ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูการศึกษาพิเศษและพี่เลี้ยงเด็กพิการที่ปฏิบัติงานห้อง
เรียนออทิสติกของโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล และมีประสบการณ์ในการสอนเด็กออทิสติก จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)
ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตด้านเนื้อหา
ตอนที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาความสามารถ
ของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งปัจจุบัน ประสบการณ์ในการสอนเด็กออทิสติก
ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาคุณภาพการสอนของครูผู้สอน เนื้อหาที่ต้องการพัฒนา ช่วงระยะเวลาที่ใช้ การกำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการแก้ไข ลักษณะการสกัดความรู้ และการดำเนินการจัดกิจกรรมตามเป้าหมายที่กำหนด
ตอนที่ 2 เป็นการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมนักเรียนออทิสติก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เรื่อง รูปแบบการพัฒนาความสามารถของครูและพี่เลี้ยงเด็กพิการของโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมนักเรียนออทิสติก
ตอนที่ 3 เป็นการศึกษาผลการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผลการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ การใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการพัฒนา การความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ตัวแปรตาม คือ ความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมเด็ก
ออทิสติก โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ระยะเวลาในการศึกษา
ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในปีการศึกษา 2562
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กออทิสติกมากที่สุด รองลงมา คือปัญหาด้านการจัดการความเครียดของครู และอันดับสุดท้าย คือ ปัญหาด้านสื่อและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน และความต้องการพัฒนาศักยภาพของครูการศึกษาพิเศษ พบว่า ครูต้องการปรับพฤติกรรมของเด็กออทิสติกมากที่สุด รองลงมา คือ การจัดการความเครียดของครูและอันดับสุดท้าย คือ การผลิตสื่อและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน
2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่าควรมีเนื้อหาด้านการกำหนดปัญหาพฤติกรรมที่ต้องการและวิเคราะห์หาสาเหตุร่วมกัน การอบรมพัฒนาศักยภาพครูด้านการปรับพฤติกรรมที่มีเนื้อหาด้านทฤษฎีและการประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษา การประยุกต์การปรับพฤติกรรมในกิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้รับการช่วยเหลือจากพี่เลี้ยง และการประเมินผลเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคร่วมกัน
3. ผลการพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก พบว่า ครูสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปรับพฤติกรรมของเด็กออทิสติกได้ดีและส่วนใหญ่เป็นปัญหาพฤติกรรมที่มีความรุนแรง เช่น การร้องไห้โวยวายเสียงดัง ทำร้ายตนเองด้วยการกระแทกตัวกับพื้นและจิกจนเกิดแผล ทำร้ายผู้อื่น และทำลายข้าวของ เมื่อเด็กเกิดความคับข้องใจหรือถูกขัดใจ ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกจะมีความรุนแรงเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาและอุปสรรคที่ยังพบคือ ครูยังมีความเครียดเกี่ยวกับผู้ปกครอง เรื่องริ้วรอยจากพฤติกรรมการทำร้ายตนเองของนักเรียนออทิสติกและเสนอแนะให้มีการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
สรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การปรับพฤติกรรมของเด็ก ออทิสติกในบริบทของโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ควรมีการกำหนดปัญหาพฤติกรรมที่ต้องการและวิเคราะห์หาสาเหตุร่วมกัน อบรมพัฒนาศักยภาพครูด้านการปรับพฤติกรรม การประยุกต์การปรับพฤติกรรม ในกิจกรรม การเรียนการสอนที่ได้รับการช่วยเหลือจากพี่เลี้ยง และมีการประเมินผลและวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคร่วมกัน รวมทั้งควรมีการสร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการช่วยเหลือเด็กออทิสติก อันจะเป็นสิ่งสำคัญในการลดภาวะความเครียดและความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูการศึกษาพิเศษได้
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับนำผลการวิจัยไปใช้
1. ผลการวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกในบริบทของโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล ดังนั้นผู้ที่จะนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ ควรศึกษาเครื่องมือและผลการวิจัยอย่างละเอียดก่อนนำไปใช้
2. การนำข้อมูลรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูด้านการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกในบริบทของโรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูลไปใช้ อาจต้องคำนึงถึงระดับช่วงอายุของเด็กออทิสติกและบริบทของสถานศึกษาร่วมด้วย