ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นายไพศาล คิดอยู่
ตำแหน่ง วิทยฐานะ ชำนาญการ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนหัวหิน
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
ผลการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการเปรียบเทียบความแตกต่างใช้ t–test Dependent Sample ผลการศึกษาพบว่า 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) เท่ากับ 83.60/81.14 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.6221 แสดงว่า หลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6221 หรือคิดเป็นร้อยละ 62.21 3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก