บทคัดย่อ
หัวข้อวิจัย การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
ชื่อผู้วิจัย นางปณิตา ทางทอง
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
การวิจัยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 และ 2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประชากร การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษา
กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 163 คน และกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเปนคูมือครูในการจัดการเรียนรู้ จํานวน 12 ชั่วโมง 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย
ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ใกล้ตัว อยู่ในระดับ มาก