ชื่อวิจัย: การพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับ
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย โดยใช้เกมร่วมกับ
ชุดฝึกทักษะ
ผู้วิจัย นายตราวุธ พันธุเวช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลเด่นชัย
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย โดยใช้เกมร่วมกับชุดฝึกทักษะ โดยวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะ 2)เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและแขน และพัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กก่อนและหลังการฝึกโดยใช้การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ร่วมกับชุดฝึกทักษะ 3)เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติในการว่ายน้ำของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 4)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนที่มีต่อพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะ 6)เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะ
มีวิธีการดำเนินการสร้าง ดังนี้
กำหนดประชากร จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลเด่นชัย และผู้ปกครองของนักเรียนจำนวน 23 คน 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 3) กลุ่มทดลองหาคุณภาพและค่าความเชื่อมั่นที่ใช้ และ 4) กลุ่มผู้รับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยกำหนดขั้นตอนการสร้างจำนวน 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นดำเนินศึกษาและขั้นรายงานผล ได้ดำเนินการดังนี้ เตรียมตัวผู้สร้างและพัฒนาและเตรียมตัวกลุ่มประชากร เพื่อดำเนินการศึกษาตามลักษณะเป็นวงจรในศึกษา 4 ขั้น ตามลำดับดังนี้ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติ (Action) 3) การสังเกตและบันทึกผล (Observing) และ 4) การสะท้อนผล (Reflecting) โดยออกแบการทดลองใช้ แบบ One-group Pretest-Posttest Design ซึ่งได้สร้างเครื่องเพื่อใช้ในการศึกษา 5 ชนิด ดังนี้ 1) ชุดฝึกทักษะการพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีระดับคุณภาพของโครงสร้าง เท่ากับ 0.73 และระดับคุณภาพของรูปแบบและเนื้อหาของชุดฝึกทักษะ เท่ากับ 4.07 ซึ่งอยู่ในระดับมาก 2)แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะ มีระดับคุณภาพ เท่ากับ 0.87 3) แบบทดสอบพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและแขนและแบบประเมินพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อตามมาตรฐานที่ 2 มีระดับคุณภาพ เท่ากับ 1.00 และ 0.77 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่น ( ) เท่ากับ 0.623 4) แบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติในการว่ายน้ำ 5)แบบบันทึกพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย 6) แบบวัดความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนที่มีต่อพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะ มีระดับคุณภาพ เท่ากับ 0.78 และมีระดับความเชื่อมั่น ( )ที่ระดับ 0.8335) 6_แบบประเมินความเหมาะสมและประโยชน์ทางวิชาการของที่มีต่อพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะ โดยผู้รับการเผยแพร่ มีระดับคุณภาพ เท่ากับ 0.92 จึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างและนำวิเคราะห์ตามสถิติที่กำหนดไว้
ปรากฏผลการศึกษา ดังนี้
1) ประสิทธิภาพของพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 92.46/84.77
2) การเปรียบเทียบพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและแขนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึกการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) การเปรียบเทียบพัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยของการประเมินในตัวบ่งชี้ที่ 1 และตัวบ่งชี้ที่ 2 จำนวน 12 และ 9 รายการประเมินตามลำดับหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึกการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ทั้ง 2 ตัวบ่งชี้ ในมาตรฐานที่ 2
4) ดัชนีประสิทธิผลของพัฒนาการกล้ามมือและแขนของนักเรียน มีความก้าวหน้าของพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและแขน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.53
5) ดัชนีประสิทธิผลของพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อแขนของนักเรียนมีความก้าวหน้าของพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กตามมาตรฐานที่ 2 ของตัวบ่งชี้ที่ 1 และ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.51 และ 85.67 ตามลำดับ
6) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีทักษะปฏิบัติในการว่ายน้ำอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาทักษะปฏิบัติในการว่ายน้ำของแต่ละด้านในภาพรวม พบว่า เด็กส่วนใหญ่มีทักษะปฏิบัติในการดำน้ำและการลอดตัว อยู่ในระดับดีมาก ส่วนทักษะปฏิบัติในการเตะขา อยู่ในระดับดี
7) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเล่นทั้ง 4 แบบ กล่าวคือ การเลียนแบบเด็กสามารถทำตามคำสั่งครูและเลียนแบบครูผู้สอนได้ การสำรวจ เด็กมีความกระตือรือร้นและสนใจในการเล่นเกม การทดสอบ เด็กสามารถเล่นเกมให้ถูกวิธี ตามกฎ กติกาได้ และการสร้างเด็กมีความความสัมพันธ์กับเพื่อในกลุ่ม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
8) ความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนมีระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
9) ความเหมาะสมและประโยชน์ทางวิชาการของการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬาว่ายน้ำ กล้ามเนื้อมือและแขนในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเด่นชัย ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะ มีระดับความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ทางวิชาการอยู่ในระดับมาก