ผังมโนทัศน์
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ทรงกลมท้องฟ้า รหัสวิชา ว31262
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5ขั้น) เรื่องทรงกลมท้องฟ้า เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 6 ชุดดังนี้
ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า
ชุดที่ 2 เรื่อง การบอกพิกัดทรงกลมท้องฟ้า
ชุดที่ 3 เรื่อง แนวการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์และดวงดาว
ชุดที่ 4 เรื่อง มุมห่างและตำแหน่งของดาวเคราะห์
ชุดที่ 5 เรื่อง เวลาสุริยะคติ
ชุดที่ 6 เรื่อง การสังเกตวัตถุท้องฟ้า
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้เป็นชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ 2 รหัสวิชา ว31262 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 แผน ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
3. ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดนี้ ประกอบด้วย
a. ผังมโนทัศน์
b. คำชี้แจง
c. แผนผังแสดงขั้นตอนการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
d. คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครู
e. คำแนะนำการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียน
f. มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้
g. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
h. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
i. กระดาษคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน
j. ใบความรู้
k. ใบกิจกรรม
l. แบบฝึกหัด
m. เฉลยกิจกรรม
n. เฉลยแบบฝึกหัด
o. แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)
p. กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน
q. เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
r. เอกสารอ้างอิง
4. ผู้ใช้ชุดกิจกรรมนี้ควรศึกษาคำแนะนำในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ก่อนใช้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5ขั้น) เรื่องทรงกลมท้องฟ้า เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยทำให้การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรเตรียมความพร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้
1. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแผนจัดการเรียนรู้ เนื้อหาที่สอน เอกสารชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และคำชี้แจงต่าง ๆ ให้เข้าใจก่อนดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้
2. เตรียมสื่ออุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้พร้อมและครบจำนวนนักเรียนในชั้นเรียนแต่ละกลุ่ม
3. เมื่อมีกิจกรรมกลุ่มให้แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆละ 6-7 คน จำนวนกลุ่มขึ้นอยู่กับนักเรียนในชั้นเรียน โดยคละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ให้มีการเลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับสมาชิกภายในกลุ่ม
4. ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจบทบาทของตนเอง แนะนำขั้นตอนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวปฏิบัติ ในระหว่างการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ แล้วจึงให้ทำ แบบทดสอบก่อนเรียน
5. ขณะที่นักเรียนทำกิจกรรม ครูคอยช่วยเหลือให้คำแนะกระตุ้นให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นและตอบคำถามต่าง ๆ ระหว่างเรียนพร้อมทั้งสังเกตและประเมินพฤติกรรมการทำงานของนักเรียน
6. เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมครบถ้วน ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน แล้วนำผลทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแจ้งให้นักเรียนรับทราบความก้าวหน้าทางการเรียน
7. การวัดผลและประเมินผล ประเมินจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ตรวจใบกิจกรรมและบัตรแบบฝึกหัด
8. เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ครูให้นักเรียนร่วมตรวจสอบ เก็บชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วัสดุ สิ่งของ และอุปกรณ์ ให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการใช้ครั้งต่อไป
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5ขั้น) เรื่องทรงกลมท้องฟ้า เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนด้วยความซื่อสัตย์และตั้งใจ ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า ใช้เวลา 3 ชั่วโมง
2. แบ่งกลุ่ม ๆ ละ 6-7 คน โดยคละความสามารถนักเรียนในกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน เลือกประธานและเลขานุการ พร้อมทั้งให้ทุกคนได้รับผิดชอบหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมในกลุ่ม (แต่ละกิจกรรมไม่ซ้ำคนเดิม)
3. อ่านคำชี้แจง คำแนะนำ และขั้นตอนการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เข้าใจก่อนลงมือศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้
4. ศึกษาสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้
5. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า จำนวน 10 ข้อ ใช้เวลา 10 นาที
6. ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ขณะปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างมีอิสระ มีเหตุมีผล ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เรียนรู้อย่างมีความสุข และสามารถขอคำแนะนำจากครูเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรม
7. เมื่อปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามใบกิจกรรม และแบบฝึกหัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบคำตอบได้จากเฉลยใบกิจกรรม และเฉลยแบบฝึกหัด และบันทึกผลลงในแบบบันทึกคะแนนของนักเรียน แต่ถ้าคำตอบไม่ถูกให้กลับไปอ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาอีกครั้งแล้วตอบใหม่
8. เมื่อศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมครบทุกกิจกรรมแล้วให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า จำนวน 10 ข้อ ใช้เวลา 10 นาที
9. ตรวจคำตอบจากเฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน พร้อมบันทึกผลคะแนนที่ได้ เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าทางการเรียน ซึ่งนักเรียนต้องทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป จึงจะผ่านเกณฑ์ ถ้านักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดให้ทบทวนเนื้อหา แล้วให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนอีกครั้ง หากผ่านเกณฑ์ให้ศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดต่อไป
ข้อควรปฏิบัติ
นักเรียนควรศึกษาด้วยความเอาใจใส่ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ไม่ควรดูคำเฉลย ก่อนจะทำกิจกรรมแล้วนักเรียนจะเข้าใจ และได้รับประโยชน์จากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดนี้มากที่สุด
สาระโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ
1. เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ธรณีพิบัติภัย และผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการศึกษาลำดับชั้นหิน ทรัพยากรธรณี แผนที่และการนำไปใช้ประโยชน์
2. เข้าใจสมดุลพลังงานของโลก การหมุนเวียนของอากาศบนโลก การหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร การเกิดเมฆ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพยากรณ์อากาศ
3. เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะกระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ ความสัมพันธ์ของศาสตร์กับมนุษย์จากการศึกษาตำแหน่งดาวบนทรงกลมฟ้า และปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ
สาระการเรียนรู้
1. การขึ้นตกของวัตถุบนท้องฟ้าเป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก
2. ทรงกลมท้องฟ้าเป็นทรงกลมสมมติที่ครอบโลกอยู่ใช้อธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุและบอกตำแหน่งบนท้องฟ้า
3. โลกหมุนรอบตัวเองรอบละประมาณ 24 ชั่วโมง ทำให้เห็นวัตถุบนทรงกลมท้องฟ้าเคลื่อนที่ไป
รอบละ 24 ชั่วโมง
ผลการเรียนรู้
1. สร้างแบบจำลองทรงกลมท้องฟ้า สังเกต และเชื่อมโยงจุดและเส้นสำคัญของแบบจำลองทรงกลมท้องฟ้ากับท้องฟ้าจริง และอธิบายการระบุพิกัดของดาวในระบบขอบฟ้า และระบบศูนย์สูตร
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5ขั้น) ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า แล้วนักเรียนสามารถ
1. ด้านความรู้ (Knowledge : K)
1.1 อธิบายความหมายของเส้นและจุดอ้างอิงบนทรงกลมท้องฟ้าได้
1.2 จำลองและอธิบายส่วนประกอบของทรงกลมท้องฟ้าได้
2. ด้านทักษะกระบวนการ (Process : P)
2.1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.1.1 การสังเกต
2.1.2 การหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา
2.1.3 การสร้างแบบจำลอง
2.2 ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
2.2.1 การสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ
2.2.2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
2.2.3 การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
2.2.4 ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
3. ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude : A)
3.1 มีวินัย
3.2 ใฝ่เรียนรู้
3.3 มุ่งมั่นในการทำงาน
4. ด้านจิตวิทยาศาสตร์ (Scientific minds : S)
4.1 การใช้วิจารณญาณ
4.2 ความใจกว้าง
เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า (เวลาที่ใช้ 3 ชั่วโมง)
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน 10 ข้อ (10 นาที)
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) (10 นาที)
1. ให้นักเรียนดูภาพการเคลื่อนที่ของดาวจากโปรแกรมจำลองท้องฟ้า Stellarium
2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (50 นาที)
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ที่ 1
2. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. นักเรียนทุกคนทำใบกิจกรรมที่ 1.1 ตอนที่ 1-4
4. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้
5. นักเรียนทุกคนทำใบกิจกรรมที่ 1.2 ตอนที่ 1-2
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (40 นาที)
1. นักเรียนร่วมอธิบายการศึกษาใบความรู้ที่ 1 และการทำใบกิจกรรมที่ 1.1 ตอนที่ 1-4
2. นักเรียนร่วมสรุปความรู้จากใบความรู้ที่ 1 และการทำใบกิจกรรมที่ 1.1 ตอนที่ 1-4
4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) (40 นาที)
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบกิจกรรมที่ 1.2 ตอนที่ 1-2
2. นักเรียนร่วมสรุปความรู้จากใบกิจกรรมที่ 1.2 ตอนที่ 1-2
5) ขั้นประเมิน (Evaluation) (20 นาที)
1. นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า
2. นักเรียนและครูร่วมกันทบทวนและสรุปผลการประเมินการทำกิจกรรม
ขั้นสรุป
1. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อ (10 นาที)
คำชี้แจง 1. แบบทดสอบเป็นแบบปรนัยมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน เวลา 10 นาที
2. ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท (×) ลงในช่องตัวเลือก ก ข ค ง จ ที่เห็นว่าถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวในกระดาษคำตอบ
1. ทรงกลมท้องฟ้าคืออะไร
ก. ทรงกลมใสรัศมีอนันต์ที่อยู่รอบ ๆ โลก
ข. ทรงกลมทึบสีดำรัศมีอนันต์ที่อยู่รอบ ๆ โลก
ค. ทรงกลมใสรัศมีอนันต์ที่โคจรอยู่รอบ ๆ โลก
ง. ทรงกลมใสรัศมีอนันต์ที่ถูกจินตนาการขึ้นมาให้โลกโคจรไปรอบ ๆ
จ. ทรงกลมใสรัศมีอนันต์ที่ถูกจินตนาการขึ้นมารอบ ๆ โลกใช้กำหนดพิกัดบนท้องฟ้า
2. โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศไหนไปทิศไหน
ก. ทิศเหนือไปทิศใต้
ข. ทิศใต้ไปทิศเหนือ
ค. ทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก
ง. ทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก
จ. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ทรงกลมท้องฟ้าหมุนรอบโลกด้วยอัตราเท่าใด
ก. 60 วินาที
ข. 1 ชั่วโมง
ค. 24 ชั่วโมง
ง. 30 วัน
จ. 365 วัน
4. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของทรงกลมท้องฟ้า
ก. เส้นขอบฟ้า
ข. เส้นศูนย์สูตรฟ้า
ค. จุดเหนือศีรษะ
ง. เส้นเมอริเดียนผู้สังเกต
จ. กลุ่มดาวฤกษ์ 88 กลุ่ม
5. จุดที่แกนการหมุนของโลกชี้บนทรงกลมท้องฟ้าเรียกว่าอะไร
ก. ขั้วฟ้าเหนือ
ข. เส้นขอบฟ้า
ค. จุดเหนือศีรษะ
ง. เส้นศูนย์สูตรฟ้า
จ. เส้นเมอริเดียนผู้สังเกต
6. ส่วนประกอบใดของทรงกลมท้องฟ้าที่ทำหน้าที่แบ่งท้องฟ้าออกเป็นซีกฟ้าเหนือกับซีกฟ้าใต้
ก. เส้นขอบฟ้า
ข. เส้นสุริยะวิถี
ค. เส้นศูนย์สูตรฟ้า
ง. เส้นเมอริเดียนผู้สังเกต
จ. เส้นแนวขั้วฟ้าเหนือ-ขั้วฟ้าใต้
7. ข้อใดถูกต้องสำหรับผู้สังเกตที่ประเทศไทย
ก. เห็นท้องฟ้าซีกเหนือมากกว่าซีกฟ้าใต้
ข. เห็นท้องฟ้าซีกใต้มากกว่าซีกฟ้าเหนือ
ค. เห็นท้องฟ้าซีกเหนือเท่ากับซีกฟ้าใต้
ง. เห็นท้องฟ้าซีกเหนือเอียงทำมุม 15 องศา
จ. เห็นท้องฟ้าซีกเหนือมากกว่าซีกฟ้าใต้ เป็นเวลา 6 เดือน
8. เส้นศูนย์สูตรฟ้าจะอยู่ห่างจุดเหนือศีรษะเป็นมุมเท่าใด ของผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ละติจูด 0 องศา
ก. 0 องศา
ข. 90 องศา
ค. 180 องศา
ง. 270 องศา
จ. 360 องศา
9. ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ละติจูด 13 องศาเหนือ จะสังเกตเห็นดาวเหนืออยู่ในตำแหน่งใด
ก. สูงจากขอบฟ้าทางทิศใต้ 13 องศา
ข. สูงจากขอบฟ้าทางทิศใต้ 77 องศา
ค. สูงจากขอบฟ้าทางทิศเหนือ 13 องศา
ง. สูงจากขอบฟ้าทางทิศเหนือ 77 องศา
จ. ใต้ขอบฟ้าทางทางทิศเหนือ 13 องศา
10. ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ละติจูด 18 องศาใต้ จะสังเกตเห็นดาวเหนืออยู่ในตำแหน่งใด
ก. ไม่สามารถมองเห็นดาวเหนือได้
ข. สูงจากขอบฟ้าทิศใต้ 72 องศา
ค. สูงจากขอบฟ้าทิศใต้ 18 องศา
ง. สูงจากขอบฟ้าทิศเหนือ 72 องศา
จ. สูงจากขอบฟ้าทางทิศเหนือ 18 องศา
กระดาษคำตอบ แบบทดสอบก่อนเรียน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5 ขั้น)
ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า
ชื่อ.................................................................................................ชั้น...............เลขที่..........................
ข้อที่ ก ข ค ง จ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้
10 คะแนน
( ) ผ่าน ( ) ไม่ผ่าน
ทรงกลมท้องฟ้า
สมาชิกกลุ่ม
1
. 2
.
3
. 4
.
5
. 6
.
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของเส้นและจุดอ้างอิงบนทรงกลมฟ้า
คำชี้แจง
1. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการศึกษาใบความรู้ที่ 1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้าและทำใบกิจกรรมที่ 1.1 ตอนที่ 1-4

ตอนที่ 1 (9 คะแนน)
คำสั่ง ให้จับคู่คำที่มีความหมายตรงกันให้ถูกต้อง โดยการนำอักษรภาษาอังกฤษในช่องด้านขวามือเติมหน้าตัวเลขในช่องด้านซ้ายมือ
_______1 ทรงกลมฟ้า
A. South celestial pole
_______2 ขั้วฟ้าเหนือ B. Meridian
_______3 ขั้วฟ้าใต้ C. North celestial pole
_______4 เส้นศูนย์สูตรฟ้า D. Horizon
_______5 ซีกฟ้าเหนือ E. Celestial sphere
_______6 ซีกฟ้าใต้ F. Zenith
_______7 เส้นขอบฟ้า G. North hemisphere
_______8 เส้นเมอริเดียน H. Celestial equator
_______9 จุดเหนือศีรษะ I South hemisphere
ตอนที่ 2 (7 คะแนน)
คำสั่ง ให้นำตัวอักษรหน้าคำ ในกรอบสี่เหลี่ยมด้านซ้ายมือ เขียนเติมลงในส่วนต่าง ๆ ของภาพให้ถูกต้อง
A. ขั้วฟ้าเหนือ
B. เส้นศูนย์สูตรฟ้า
C. ซีกฟ้าเหนือ
D.ซีกฟ้าใต้
E. เส้นขอบฟ้า
F. เส้นเมอริเดียน
G.จุดเหนือศีรษะ
ตอนที่ 3 (8 คะแนน)
คำสั่ง ให้จับคู่ส่วนประกอบของทรงกลมท้องฟ้าที่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของส่วนประกอบนั้นให้ถูกต้อง โดยการนำอักษรภาษาอังกฤษในช่องด้านขวามือ เติมหน้าตัวเลขในช่องด้านซ้ายมือ
_______1 ทรงกลมฟ้า
A. เส้นแบ่งระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดิน
_______2 ขั้วฟ้าเหนือ B. ท้องฟ้าส่วนที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้า
_______3 ขั้วฟ้าใต้ C. แบ่งทรงกลมท้องฟ้าเป็นซีกฟ้าเหนือ ซีกฟ้าใต้
_______4 เส้นศูนย์สูตรฟ้า D. จุดที่แกนการหมุนจากขั้วโลกเหนือชี้บนทรงกลมท้องฟ้า
_______5 ซีกฟ้าเหนือ E. ท้องฟ้าส่วนที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรฟ้า
_______6 ซีกฟ้าใต้ F. ใช้ศึกษาและระบุพิกัดของวัตถุ
_______7 เส้นขอบฟ้า G. เส้นที่ลากจากทิศเหนือผ่านดาวไปยังทิศใต้
_______8 เส้นเมอริเดียน H. จุดที่แกนการหมุนจากขั้วโลกใต้ชี้บนทรงกลมท้องฟ้า
ตอนที่ 4 (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
คำสั่ง ให้เขียนความสำคัญของส่วนประกอบต่อไปนี้
ข้อ ส่วนประกอบ ความสำคัญ
1 ทรงกลมฟ้า
.................................................................................................................................. ..................................................................................................................................
2 ขั้วฟ้าเหนือ
.................................................................................................................................. ..................................................................................................................................
3 ขั้วฟ้าใต้
..................................................................................................................................
..................................................................................................................................
4 เส้น
ศูนย์สูตรฟ้า
.................................................................................................................................. ..................................................................................................................................
5 ซีกฟ้าเหนือ
.................................................................................................................................. ..................................................................................................................................
6 ซีกฟ้าใต้
.................................................................................................................................. ..................................................................................................................................
7 เส้นขอบฟ้า
.................................................................................................................................. ..................................................................................................................................
8 เส้น
เมอริเดียน
.................................................................................................................................. ..................................................................................................................................
สมาชิกกลุ่ม
1
. 2
.
3
. 4
.
5
. 6
.
จุดประสงค์การเรียนรู้
2. สร้างแบบจำลองท้องฟ้าตามความเข้าใจของนักเรียน
คำชี้แจง
1. ให้นักเรียนศึกษาบัตรเนื้อหาที่ 1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการศึกษาใบความรู้ที่ 1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า และทำใบกิจกรรมที่ 1.2

ตอนที่ 1 (10 คะแนน)
คำสั่ง ให้วาดรูปทรงกลมท้องฟ้าจำลองและระบุส่วนประกอบต่าง ๆ ของทรงกลมท้องฟ้าให้ถูกต้องสมบูรณ์
ตอนที่ 2 (20 คะแนน)
คำสั่ง ให้วาดรูปทรงกลมท้องฟ้าจำลองและระบุ เส้นแนวขั้วฟ้าเหนือ-ใต้ เส้นศูนย์สูตรฟ้าและมุมห่างจากจุดเหนือศีรษะ และ เส้นขอบฟ้า
1. ผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูด 45o
2. ผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูด 70o
3. ผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูด -70o
4. ผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูด -40o
ชื่อ สกุล ..............................................................................................เลขที่.................................
เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า (10 คะแนน)
คำสั่ง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย (/) หน้าข้อความที่ถูก และทำเครื่องหมาย (X) หน้าข้อความที่ผิด
1. เส้นศูนย์สูตรฟ้า คือ เส้นแบ่งระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดิน
2. ท้องฟ้าของซีกฟ้าเหนือท้องฟ้าส่วนที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้า
3. เส้นขอบฟ้าแบ่งทรงกลมท้องฟ้าเป็นซีกฟ้าเหนือ ซีกฟ้าใต้
4. ขั้วฟ้าเหนือคือจุดที่แกนการหมุนจากขั้วโลกเหนือชี้บนทรงกลมท้องฟ้า
5. ระนาบศูนย์สูตรฟ้าจะตั้งฉากกับแนวขั้วฟ้าเหนือ-ขั้วฟ้าใต้เสมอ
6. เส้นขอบฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งผู้สังเกตการณ์
7. ผู้สังเกตการณ์บริเวณซีกโลกใต้ จะเห็นดาวเหนืออยู่บริเวณขอบฟ้าพอดี
8. ผู้สังเกตการณ์บริเวณละติจูด 19 องศา จะเห็นดาวเหนืออยู่ห่างจุดเหนือศีรษะ 19 องศา
9. ดาวเหนือจะอยู่ในตำแหน่งขั้วฟ้าเหนือเสมอ
10. เส้นขอบฟ้าและเส้นศูนย์สูตรฟ้า อยู่ในตำแหน่งเดียวกันเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ขั้วโลก
คำชี้แจง 1. แบบทดสอบเป็นแบบปรนัยมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน เวลา 10 นาที
2. ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท (×) ลงในช่องตัวเลือก ก ข ค ง จ ที่เห็นว่าถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียวในกระดาษคำตอบ
1. ทรงกลมท้องฟ้าคืออะไร
ก. ทรงกลมใสรัศมีอนันต์ที่ถูกจินตนาการขึ้นมารอบ ๆ โลกใช้กำหนดพิกัดบนท้องฟ้า
ข. ทรงกลมใสรัศมีอนันต์ที่ถูกจินตนาการขึ้นมาให้โลกโคจรไปรอบ ๆ
ค. ทรงกลมใสรัศมีอนันต์ที่โคจรอยู่รอบ ๆ โลก
ง. ทรงกลมทึบสีดำรัศมีอนันต์ที่อยู่รอบ ๆ โลก
จ. ทรงกลมใสรัศมีอนันต์ที่อยู่รอบ ๆ โลก
2. โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศไหนไปทิศไหน
ก. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ข. ทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก
ค. ทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก
ง. ทิศใต้ไปทิศเหนือ
จ. ทิศเหนือไปทิศใต้
3. ทรงกลมท้องฟ้าหมุนรอบโลกด้วยอัตราเท่าใด
ก. 365 วัน
ข. 60 วินาที
ค. 30 วัน
ง. 24 ชั่วโมง
จ. 1 ชั่วโมง
4. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของทรงกลมท้องฟ้า
ก. กลุ่มดาวฤกษ์ 88 กลุ่ม
ข. เส้นเมริเดียนผู้สังเกต
ค. เส้นศูนย์สูตรฟ้า
ง. จุดเหนือศีรษะ
จ. เส้นขอบฟ้า
5. จุดที่แกนการหมุนของโลกชี้บนทรงกลมท้องฟ้าเรียกว่าอะไร
ก. เส้นเมริเดียนผู้สังเกต
ข. เส้นศูนย์สูตรฟ้า
ค. จุดเหนือศีรษะ
ง. ขั้วฟ้าเหนือ
จ. เส้นขอบฟ้า
6. ส่วนประกอบใดของทรงกลมท้องฟ้าที่ทำหน้าที่แบ่งท้องฟ้าออกเป็นซีกฟ้าเหนือกับซีกฟ้าใต้
ก. เส้นแนวขั้วฟ้าเหนือ-ขั้วฟ้าใต้
ข. เส้นเมริเดียนผู้สังเกต
ค. เส้นศูนย์สูตรฟ้า
ง. เส้นสุริยะวิถี
จ. เส้นขอบฟ้า
7. ข้อใดถูกต้องสำหรับผู้สังเกตที่ประเทศไทย
ก. เห็นท้องฟ้าซีกเหนือมากกว่าซีกฟ้าใต้ เป็นเวลา 6 เดือน
ข. เห็นท้องฟ้าซึกเหนือเอียงทำมุม 15 องศา
ค. เห็นท้องฟ้าซีกใต้มากกว่าซีกฟ้าเหนือ
ง. เห็นท้องฟ้าซีกเหนือมากกว่าซีกฟ้าใต้
จ. เห็นท้องฟ้าซีกเหนือเท่ากับซีกฟ้าใต้
8. เส้นศูนย์สูตรฟ้าจะอยู่ห่างจุดเหนือศีรษะเป็นมุมเท่าใด ของผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ละติจูด 0 องศา
ก. 360 องศา
ข. 270 องศา
ค. 180 องศา
ง. 90 องศา
จ. 0 องศา
9. ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ละติจูด 13 องศาเหนือ จะสังเกตเห็นดาวเหนืออยู่ในตำแหน่งใด
ก. สูงจากขอบฟ้าทางทิศเหนือ 77 องศา
ข. สูงจากขอบฟ้าทางทิศเหนือ 13 องศา
ค. ใต้ขอบฟ้าทางทางทิศเหนือ 13 องศา
ง. สูงจากขอบฟ้าทางทิศใต้ 77 องศา
จ. สูงจากขอบฟ้าทางทิศใต้ 13 องศา
10. ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ละติจูด 18 องศาใต้ จะสังเกตเห็นดาวเหนืออยู่ในตำแหน่งใด
ก. สูงจากขอบฟ้าทางทิศเหนือ 18 องศา
ข. สูงจากขอบฟ้าทิศเหนือ 72 องศา
ค. สูงจากขอบฟ้าทิศใต้ 18 องศา
ง. สูงจากขอบฟ้าทิศใต้ 72 องศา
จ. ไม่สามารถมองเห็นดาวเหนือได้
กระดาษคำตอบ แบบทดสอบหลังเรียน
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5ขั้น)
ชุดที่ 1 เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า
ชื่อ.................................................................................................ชั้น...............เลขที่..........................
ข้อที่ ก ข ค ง จ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
คะแนนเต็ม คะแนนที่ได้
10 คะแนน
( ) ผ่าน ( ) ไม่ผ่าน
เกณฑ์การผ่านต้องได้ 8 คะแนนขึ้นไป
สมาชิกกลุ่ม
1
. 2
.
3
. 4
.
5
. 6
.
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมาย และระบุส่วนประกอบของทรงกลมท้องฟ้าได้
คำชี้แจง
1. ให้นักเรียนศึกษาบัตรเนื้อหาที่ 1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่องจุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการศึกษาใบความรู้ที่ 1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่องจุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า และทำใบกิจกรรมที่ 1.1 ตอนที่ 1-4

ตอนที่ 1 (9 คะแนน)
คำสั่ง ให้จับคู่คำที่มีความหมายตรงกันให้ถูกต้อง โดยการนำอักษรภาษาอังกฤษในช่องด้านขวามือ เติมหน้าตัวเลขในช่องด้านซ้ายมือ
___E____1 ทรงกลมฟ้า
A. South celestial pole
___C____2 ขั้วฟ้าเหนือ B. Meridian
___A____3 ขั้วฟ้าใต้ C. North celestial pole
___H____4 เส้นศูนย์สูตรฟ้า D. Horizon
___G____5 ซีกฟ้าเหนือ E. Celestial sphere
___I____6 ซีกฟ้าใต้ F. Zenith
___D____7 เส้นขอบฟ้า G. North hemisphere
___B____8 เส้นเมอริเดียน H. Celestial equator
___F____9 จุดเหนือศีรษะ I South hemisphere
ตอนที่ 2 (7 คะแนน)
คำสั่ง ให้นำตัวอักษรหน้าคำ ในกรอบสี่เหลี่ยมด้านซ้ายมือ เขียนเติมลงในส่วนต่าง ๆ ของภาพให้ถูกต้อง
A. ขั้วฟ้าเหนือ
B. เส้นศูนย์สูตรฟ้า
C. ซีกฟ้าเหนือ
D. ซีกฟ้าใต้
E. เส้นขอบฟ้า
F. เส้นเมอริเดียน
G. จุดเหนือศีรษะ
ตอนที่ 3 (8 คะแนน)
คำสั่ง ให้จับคู่ส่วนประกอบของทรงกลมท้องฟ้าที่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของส่วนประกอบนั้นให้ถูกต้อง โดยการนำอักษรภาษาอังกฤษในช่องด้านขวามือ เติมหน้าตัวเลขในช่องด้านซ้ายมือ
___F____1 ทรงกลมฟ้า
A. เส้นแบ่งระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดิน
___D____2 ขั้วฟ้าเหนือ B. ท้องฟ้าส่วนที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้า
___H____3 ขั้วฟ้าใต้ C. แบ่งทรงกลมท้องฟ้าเป็นซีกฟ้าเหนือ ซีกฟ้าใต้
___C____4 เส้นศูนย์สูตรฟ้า D. จุดที่แกนการหมุนจากขั้วโลกเหนือชี้บนทรงกลมท้องฟ้า
___B____5 ซีกฟ้าเหนือ E. ท้องฟ้าส่วนที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรฟ้า
___E____6 ซีกฟ้าใต้ F. ใช้ศึกษาและระบุพิกัดของวัตถุ
___A____7 เส้นขอบฟ้า G. เส้นที่ลากจากทิศเหนือผ่านดาวไปยังทิศใต้
___G____8 เส้นเมอริเดียน H. จุดที่แกนการหมุนจากขั้วโลกใต้ชี้บนทรงกลมท้องฟ้า
ตอนที่ 4 (ข้อละ 1 คะแนน รวม 8 คะแนน)
คำสั่ง ให้เขียนความสำคัญของส่วนประกอบต่อไปนี้
ข้อ ส่วนประกอบ ความสำคัญ
1 ทรงกลมฟ้า
...........................ใช้ศึกษาและระบุพิกัดของวัตถุ..................................................... ..................................................................................................................................
2 ขั้วฟ้าเหนือ
...................จุดที่แกนการหมุนจากขั้วโลกเหนือชี้บนทรงกลมท้องฟ้า.................... ..................................................................................................................................
3 ขั้วฟ้าใต้
..................จุดที่แกนการหมุนจากขั้วโลกใต้ชี้บนทรงกลมท้องฟ้า.........................
..................................................................................................................................
4 เส้น
ศูนย์สูตรฟ้า
....................แบ่งทรงกลมท้องฟ้าเป็นซีกฟ้าเหนือ ซีกฟ้าใต้..................................... ..................................................................................................................................
5 ซีกฟ้าเหนือ
.....................ท้องฟ้าส่วนที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้า................................................ ..................................................................................................................................
6 ซีกฟ้าใต้
.....................ท้องฟ้าส่วนที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรฟ้า.................................................... ..................................................................................................................................
7 เส้นขอบฟ้า
.....................เส้นแบ่งระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดิน...................................................... ..................................................................................................................................
8 เส้น
เมอริเดียน
.....................เส้นที่ลากจากทิศเหนือผ่านดาวไปยังทิศใต้....................................... ..................................................................................................................................
สมาชิกกลุ่ม
1
. 2
.
3
. 4
.
5
. 6
.
จุดประสงค์การเรียนรู้
2. สร้างแบบจำลองท้องฟ้าตามความเข้าใจของนักเรียน
คำชี้แจง
1. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่องจุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า
2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการศึกษาใบความรู้ที่ 1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดที่ 1 เรื่องจุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้าและทำใบกิจกรรมที่ 1.2 ตอนที่ 1-2

ตอนที่ 1 (10 คะแนน)
คำสั่ง ให้วาดรูปทรงกลมท้องฟ้าและส่วนประกอบต่าง ๆ ของทรงกลมท้องฟ้าให้ถูกต้องสมบูรณ์
* ให้คะแนนตามความถูกต้องและสมบูรณ์ของคำตอบว่าระบุส่วนประกอบครบจากทั้งหมดตามสัดส่วน
จำนวนส่วนประกอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ขึ้นไป
คะแนนที่ได้ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ตอนที่ 2 (20 คะแนน)
คำสั่ง ให้วาดรูปทรงกลมท้องฟ้าจำลองและระบุ ทิศ จุดเหนือศีรษะ เส้นแนวขั้วฟ้าเหนือ-ใต้ เส้นศูนย์สูตรฟ้า มุมห่างจากจุดเหนือศีรษะ และ เส้นขอบฟ้า
1. ผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูด 45o
2. ผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูด 70o
3. ผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูด -70o
4. ผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ละติจูด -40o
* ให้คะแนนตามความถูกต้องและสมบูรณ์ของคำตอบว่าระบุส่วนประกอบครบจากทั้งหมดตามสัดส่วน
จำนวนส่วนประกอบ 1 2 3 4 5 ขึ้นไป
คะแนนที่ได้ 1 2 3 4 5
ชื่อ สกุล ..............................................................................................เลขที่.................................
เรื่อง จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมท้องฟ้า (10 คะแนน)
คำสั่ง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย (/) หน้าข้อความที่ถูก และทำเครื่องหมาย (X) หน้าข้อความที่ผิด
X 1. เส้นศูนย์สูตรฟ้า คือ เส้นแบ่งระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดิน
/ 2. ท้องฟ้าของซีกฟ้าเหนือท้องฟ้าส่วนที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้า
X 3. เส้นขอบฟ้าแบ่งทรงกลมท้องฟ้าเป็นซีกฟ้าเหนือ ซีกฟ้าใต้
/ 4. ขั้วฟ้าเหนือคือจุดที่แกนการหมุนจากขั้วโลกเหนือชี้บนทรงกลมท้องฟ้า
/ 5. ระนาบศูนย์สูตรฟ้าจะตั้งฉากกับแนวขั้วฟ้าเหนือ-ขั้วฟ้าใต้เสมอ
/ 6. เส้นขอบฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งผู้สังเกตการณ์
X 7. ผู้สังเกตการณ์บริเวณซีกโลกใต้ จะเห็นดาวเหนืออยู่บริเวณขอบฟ้าพอดี
X 8. ผู้สังเกตการณ์บริเวณละติจูด 19 องศา จะเห็นดาวเหนืออยู่ห่างจุดเหนือศีรษะ 19 องศา
/ 9. ดาวเหนือจะอยู่ในตำแหน่งขั้วฟ้าเหนือเสมอ
/ 10. เส้นขอบฟ้าและเส้นศูนย์สูตรฟ้า อยู่ในตำแหน่งเดียวกันเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ที่ขั้วโลก
มาลี สุทธิโอภาส และคณะ. (2555). อวกาศ. กรุงเทพ: บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.
วิภู รุโจปการ. (2550). เอกภพเพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล. กรุงเทพ: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 6. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). หนังสือเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเสริมศักยภาพวิทยาศาสตร์ โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ. กรุงเทพ: บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
Karttunen,H. (2007). Astronomy (Fifth Edition). New York USA: Springer-Verlag.
www.science.cmu.ac.th/observatory
www.lesaproject.com
www.png.pngtree.com