บทคัดย่อ
หัวข้องานวิจัย รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนา
การเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ.
ผู้วิจัย นายธนาชัย ไชยสัตย์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 18 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนโรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ จำนวน 18 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยโรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ จำนวน 18 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 คน ประกอบด้วย 1) ครูพี่เลี้ยงที่ ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ จำนวน 2 คน 2) กลุ่มครูผู้ร่วมวิจัย จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่ม และ แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนหนองหว้า
ประชาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่า ซีทีเออีอาร์ (CTAER Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง 0.80 - 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง 0.80 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง 0.80 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีกระบวนการที่เป็นระบบมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
2. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สรุปได้ดังนี้
2.1 สมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ของผู้รับการอบรม หลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวม พบว่า การฝึกอบรมการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 1 ที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาการประเมินผลการฝึกอบรมการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า การประเมินด้านผลผลิต (Product) ด้านสภาวะแวดล้อม ( Context ) ด้านปัจจัยนำเข้าของการฝึกอบรม (Inputs) และด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมากที่สุด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้นิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้
2.2 รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูพี่เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้รับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.4 สมรรถนะครูทางการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับอบรม พบว่า ครูผู้รับการอบรม มีสมรรถนะทางการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 ที่กำหนด
ไว้ และเมื่อพิจารณาสมรรถนะครูทางการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูผู้รับการอบรมมีสมรรถนะทางการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2.5 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยภาพรวม พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 3 ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูมีความพึงพอใจที่อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านผลของการนำรูปแบบไปใช้ ลำดับที่ 2 ด้านกระบวนการนำรูปแบบไปใช้ และลำดับที่ 3 ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ ลำดับที่ 1 ด้านผลของการนำรูปแบบไปใช้ มีองค์ประกอบย่อย แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ช่วยแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียน 2) ช่วยให้ทุกฝ่ายเข้าใจการพัฒนาการสอนที่ถูกต้อง ตรงกัน 3) ช่วยให้ครูได้พัฒนาศักยภาพในวิชาชีพของตนเอง 4) ช่วยให้ครู มีความรู้และทักษะการวิจัยในชั้นเรียน ลำดับที่ 2 ด้านกระบวนการนำรูปแบบไปใช้มีองค์ประกอบย่อย แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดอบรมให้ความรู้ ช่วยให้มีความพร้อมในการพัฒนา เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) การวางแผนการพัฒนาเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนมีความเหมาะสม 3) ขั้นการคัดกรองระดับความสามารถ ความรู้ ทักษะที่สำคัญและวิธีการพัฒนาบุคลากรที่ต้องการของครู เป็นขั้นที่สามารถนำไปใช้ได้จริง 4) ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมให้กระบวนการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู มีประสิทธิภาพมากขึ้น 5) การติดตามดูแลแนะนำของครูผู้ให้การพัฒนา ผู้วิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญ ส่งเสริมให้กระบวนการการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลำดับที่ 3 ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ แบ่งออก 5 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การแบ่งระดับความรู้ ขั้นที่ 2 การฝึกอบรมให้ความรู้ ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการทำวิจัย ขั้นที่ 4 การประเมินผล ขั้นที่ 5 การสะท้อนผล มีความเหมาะสม สัมพันธ์กัน 2) องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์มีความเหมาะสม 3) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน 4) องค์ประกอบของรูปแบบมีความชัดเจนและเป็นระบบ 5) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้และการติดตาม ดูแลมีความเหมาะสม ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่ม พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมและสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันในแต่ละขั้นตอน ถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มากในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่วนเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้นั้นเป็นสิ่งที่มีความ
ง
จำเป็นอย่างยิ่งในการนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเงื่อนไขของครูที่มีความมุ่งมั่น จริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบในการทำงาน และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก รวมทั้งผู้บริหารมีความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูเป็นการส่งเสริมให้ครูเกิดการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.6 ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำวิจัย พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
นักเรียน มีผลการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 4 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยใน ชั้นเรียน นักเรียนทุกระดับชั้นทุกห้องมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูทางการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน