เรื่อง การพัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางวีนา ชาญช่าง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ตามแนวคิดของ Angelo and Cross กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (2) หาคุณภาพของเครื่องมือการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ตามแนวคิดของ Angelo and Cross กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ จำนวน 4 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 120 คน และครูผู้สอนคณิตศาสตร์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบทดสอบชนิดเติมคำ โดยใช้เทคนิคการประเมินผลในชั้นเรียนของ Angelo and Cross 4 เทคนิค เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ชุด 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการสดงออกในการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาคุณภาพของเครื่องมือ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น
ผลการวิจัยพบว่า
1. เครื่องมือการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ตามแนวคิดของ Angelo and Cross กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะเป็นแบบทดสอบชนิดเติมคำ โดยใช้เทคนิคการประเมินในชั้นเรียนของ Angelo and Cross 4 เทคนิค คือ การรับรู้ปัญหา การวางแผนในการแก้โจทย์ปัญหา การแก้ปัญหาจากเอกสาร และการแสดงผลย้อนกลับ เพื่อตรวจสอบคำตอบ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวน 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 เรื่อง การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ชุดที่ 2 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก และการลบ (มากกว่า 1 ขั้นตอน) ชุดที่ 3 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการคูณ และการหาร (มากกว่า 1 ขั้นตอน) และชุดที่ 4 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูผู้สอนทราบถึงระดับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกในการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ที่แสดงออก จำนวน 4 ด้าน คือ ด้านความสนใจ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความละเอียดรอบคอบ และด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. คุณภาพของคุณภาพของเครื่องมือการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ตามแนวคิดของ Angelo and Cross กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบชนิดเติมคำ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 4 ชุด
มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) สูงกว่าเกณฑ์ทุกข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบชนิดเติมคำ ทั้ง 4 ชุด พบว่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73, 0.89, 0.90 และ 0.85 ตามลำดับ และคุณภาพของ
แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกในการจัดการเรียนรู้ ค่าความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79