เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางวีนา ชาญช่าง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ในการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัด การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 120 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 28 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถาม ที่ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบสัมภาษณ์เป็น การถามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาแบบฝึกทักษะของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ และสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D) การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
สรุปผล
การวิจัย เรื่องการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการวิจัยดังนี้
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของนักเรียนและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เห็นความสำคัญต่อการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับ ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ ได้แก่ ต้องการความรู้ในการจัดการเรียนการสอน วิธีการ เทคนิคการสอนและสื่อการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง บทประยุกต์ ที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ต้องการเทคนิควิธีการสอนที่กระตุ้นจูงใจเร้าความสนใจในการเรียน ส่วนนักเรียนมีความต้องให้ครูจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องการเรียนอย่างมีความสุข สนุกสนานกับการเรียน ต้องการให้ครูใช้สื่อประกอบการสอนที่เร้าใจให้อยากเรียน มีสีสัน รูปภาพที่ต่างจากหนังสือเรียน และสามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การเชื่อมโยงปัญหาและนำเสนอปัญหา (The Related Problem and Problem Presentation) ขั้นที่ 2 ค้นหาปัญหา (Find problems) ขั้นที่ 3 ทำความเข้าใจกับปัญหา (Understanding of The Problem) ขั้นที่ 4 ตัดสินใจเลือกและปฏิบัติ (Decide and Action) และขั้นที่ 5 สรุปผลการแก้ไขปัญหาและความรู้ที่ได้ (The Conclusion of Solution) ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบฝึกทักษะ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน พบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบฝึกทักษะ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เท่ากับ 1.00 และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 82.19/82.26 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 28 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองครั้งนี้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 28 คน ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยรวม 4.58 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.17 อยู่ในระดับดีมาก