ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง
ชุด หนูรักหนองหล่ม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูด
ของเด็กปฐมวัย ตามแนวทาง Brain-based learning
ผู้รายงาน สมถวิล หมันสิงห์
หน่วยงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองหล่ม
สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา (1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ชุด หนูรักหนองหล่ม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ตามแนวทาง Brain-based learning ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
(2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ชุด หนูรักหนองหล่ม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ตามแนวทาง Brain-based learning ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ และ (3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของ
การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ชุด หนูรักหนองหล่ม
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ตามแนวทาง Brain-based learning
กลุ่มเป้าหมายได้แก่ เด็กชาย-หญิง อายุ 3-4 ปี จำนวน 10 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองหล่ม สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาลจังหวัดมุกดาหาร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ชนิด ดังนี้ แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 50 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง จำนวน 10 เล่ม
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และแบบประเมินความสามารถทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 2 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.94 มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.50-0.77 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22-0.66 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 โดยมีแบบแผนการทดลองใช้แบบ One Group Pre-test Post-test Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ชุด หนูรักหนองหล่ม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ตามแนวทาง Brain-based learning มีประสิทธิภาพ 91.53/88.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. เด็กปฐมวัยมีความสามารถด้านการฟังและการพูด หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่า
ก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ชุด หนูรักหนองหล่ม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ตามแนวทาง Brain-based learning อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบ
คำคล้องจอง ชุด หนูรักหนองหล่ม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ตามแนวทาง Brain-based learning มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7636 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7636 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.36