ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษ
โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางนลพรรณ ภูหงษ์ทอง
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล
โคกสะอาด ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการ เขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด ตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 11 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพราะเป็น ชั้นเรียนที่ผู้รายงานเป็นผู้จัดการเรียนรู้ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 เล่ม ได้แก่ In My House, In My School, Places, Colors, Occupations และ Animals แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80 1.00 มีค่าความยากระหว่าง (p) 0.60 0.97 และมีอำนาจจำแนกระหว่าง (B) 0.59 0.92 มีค่าความเชื่อมั่น (r--) เท่ากับ 0.79 แบบทดสอบประจำเรื่อง จำนวน 6 ฉบับ ๆ ละ 10 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น (rcc) เท่ากับ 0.64, 0.60, 0.65, 0.61, 0.60 และ 0.65 ตามลำดับมีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.70 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.50 ถึง 0.80 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อแบบฝึกเสริมทักษะสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ
เท่ากับ (E1/E2 ) 85.50/89.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึก
เสริมทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมากที่สุด