ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรมโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้
ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวกุลณัฐ ปลั่งกลาง
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านหนองสาหร่าย) สังกัดเทศบาลเมืองปากช่อง
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านหนองสาหร่าย) สังกัดเทศบาลเมืองปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม แล้วจับสลากมา 1 ห้อง ได้ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 เป็นห้องกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 แผน 14 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 ข้อ และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 ข้อ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยากง่ายแบบทดสอบ ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่า E1/ E2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และค่าที (t test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ครูและผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะ คือ 1) ด้านเนื้อหาเป็นเนื้อหาที่นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในโรงเรียนและท้องถิ่นของนักเรียนได้ทุกเรื่อง 2) เนื้อหาที่เรียนสามารถนำไปใช้กับตนเองและกับครอบครัว ชุมชนและควรเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น การบริหารจิตและเสริมปัญญา พัฒนาการคิด 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีสื่อที่หลากหลาย ที่ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และต้องเป็นสื่อที่น่าสนใจ ถ้าเป็นใบความรู้ควรมีภาพประกอบที่เร้าใจ 4) ด้านสื่อการเรียนควรใช้สื่อที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจ ได้ง่าย และใช้วัสดุอุปกรณ์และเอกสารที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม 5) กิจกรรมการเรียนการสอน ควรให้นักเรียนได้ใช้สื่อทุกอย่างในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างทั่วถึง โดยครูต้องคอยดูแลและให้คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ที่นักเรียนไม่คุ้นเคย และ 6) ควรบูรณาการให้เข้ากับวิชาอื่นๆ นอกจากนั้น ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านหนองสาหร่าย) พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ได้เสนอแนะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง มีการทำงานโดยกระบวนการกลุ่ม ด้านเนื้อหา เรื่อง ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม ควรเป็นเนื้อหาที่สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) ได้ค่าประสิทธิภาพ 82.73 และผลการประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) ได้ค่าประสิทธิภาพ 81.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่กำหนดไว้คือ 80/80 แสดงว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นี้สามารถนำไปใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ผลการประเมินผลชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามีระดับความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีความคิดเห็นใกล้เคียงกัน