วิจัย : รายงานการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นเด็กเล็กปีที่ 1 (อายุ 3-4 ปี)
ผู้วิจัย : นางเถาวัลย์ ภิญโญภาพ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกนาดี สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลแมดนาท่ม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีวิจัย : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย ที่สร้างขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเด็กปฐมวัยที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย ที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นคือ เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกนาดี สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลแมดนาท่ม กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 9 ชุดกิจกรรม (2) แผนการจัดประสบการณ์ (3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependents Sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 80.03/81.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index) ของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นเท่ากับ 0.69 คิดเป็นร้อยละ 69.00 แสดงว่า แสดงว่าเด็กปฐมวัยมีความรู้ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหรือมีความก้าวหน้าจากการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.00
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กปฐมวัยที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
โดยสรุปชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีคุณภาพเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการใช้เป็นสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย