การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1) เพื่อพัฒนา ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านแบบร่วมมือ สำหรับชั้นปฐมวัย (อายุ 4 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งปลากัด องค์การบริหารส่วนตำบล บ้านถ่อน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นปฐมวัย (อายุ 4 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งปลากัด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านถ่อน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านแบบร่วมมือ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่งผู้ศึกษาได้ดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียวทำการประเมินทั้งก่อนทดลองและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย – เด็กหญิง ที่กำลังเรียนอยู่ระดับชั้นปฐมวัย (อายุ 4 ปี) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งปลากัด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านถ่อน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านแบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นปฐมวัย (อายุ 4 ปี) จำนวน 40 แผน 2) ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านแบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นปฐมวัย (อายุ 4 ปี) จำนวน 40 กิจกรรม 3) แบบประเมินความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นปฐมวัย (อายุ 4 ปี) จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์โดยการคำนวณ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent Samples และการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2)
ผลการศึกษา พบว่า
1.ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านแบบร่วมมือ สำหรับชั้นปฐมวัย (อายุ 4 ปี) ศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กบ้านทุ่งปลากัด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านถ่อน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 94.00/83.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2.หลังการใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านแบบร่วมมือ สำหรับชั้นปฐมวัย(อายุ 4 ปี)
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งปลากัด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านถ่อน อำเภอสว่างแดนดิน
จังหวัดสกลนคร มีความพร้อมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อน
การจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05