การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายอัครวุฒิ บุญเติม ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนสีคิ้วหนองหญ้าขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัด
การเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1) เพื่อหาประสิทธิภาพด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3.3) เพื่อศึกษาความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 4.1) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในด้านกระบวนการ 4.2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในด้านผลผลิตแหล่งข้อมูล การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแหล่งข้อมูลการพัฒนารูปแบบประกอบด้วย การวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร การประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ใน การทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น มีผลการประเมินโดยรวมเฉลี่ย เท่ากับ 4.657 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.08 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สาระการวัด เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.52 - 0.83 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.20 - 0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 4) แบบสอบถามความภาคภูมิใจในท้องถิ่น จำนวน 10 ข้อ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้(ด้านกระบวนการ) จำนวน 20 ข้อ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้(ด้านผลผลิต) จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร ข้อมูลจาการสนทนากลุ่มกับครูที่ปฏิบัติการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เนื้อหา การสอนในสาระการวัด เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความภาคภูมิใจในท้องถิ่น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) สาระหลักเป็นส่วนประกอบที่ต้องจัดให้แก่ผู้เรียน 5) ระบบสังคม 6) หลักการตอบสนอง 7) สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนของรูปแบบ 8) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีสนับสนุน ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) วิธีการแก้ปัญหา แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Approach) และจิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Learning Psychology) ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นเริ่มต้นเตรียมความพร้อมในการเรียน (Attention Step : A 2) ขั้นให้ความรู้ (Knowledge Step : K) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action Step : A 4) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Workshop Step : W 5) ขั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (Use to benefit Step : U) 6) ขั้นผลรวมความรู้เพื่อสร้างชิ้นงาน (Total for constructing Step : T)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
3.1 ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพ
ผลลัพธ์จากคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 89.27/82.08 และเมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพผลลัพธ์จากคะแนนทักษะการบวนการทางคณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 89.27/82.08
3.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6955 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
0.6955 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.55 และเมื่อวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7410 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7410 หรือคิดเป็นร้อยละ74.10
3.3 ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของนักเรียน หลังจากการสอนด้วยรูปแบบการจัด
การเรียนรู้โดยแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และ ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เฉลี่ยโดยรวม พบว่า นักเรียนมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.66, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.19)
4. ผลการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
4.1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้านกระบวนการ ภาพรวม พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.72, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.46)
4.2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้
แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้านผลผลิต ภาพรวม พบว่าผู้ปกครองมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.67 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.16)
ผลการปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้จากข้อเสนอแนะของนักเรียน คือ กิจกรรมกลางแจ้งในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ที่ต้องอาศัยพละกำลัง ควรคำนึงถึงความปลอดภัยและความเหมาะสมกับสุขภาพร่างกายของนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรม และควรให้ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้โดยบันทึกภาพเคลื่อนไหวของกิจกรรมมาเป็นสื่อการสอน