ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ
POLA Model เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา
ผู้วิจัย วิวัฒน์ กางการ
ปี พ.ศ. 2561
การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA Model เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา ในครั้งนี้ใช้ระเบียบ
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ในลักษณะที่เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา
4) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา
กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ครู จำนวน 20 คน นักเรียน จำนวน
140 คน ผู้ปกครอง จำนวน 140 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน และ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยโรงเรียนมัธยมหนองศาลาเป็นโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่มีลักษณะพิเศษจำเป็นซึ่งต้องใช้การบริหารงานที่แตกต่างจากพื้นที่
อื่น ๆ ดังด้านรูปแบบการบริหารที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โรงเรียนจำเป็นต้องมีหรือใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพ โดยมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารโรงเรียนอย่างแพร่หลาย บุคลากรทุกคนทราบและปฏิบัติตาม มีความพึงพอใจ และนำไปใช้จนส่งผลให้การบริหารโรงเรียนคุณภาพ บรรลุผล และโรงเรียนมีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพให้สูงขึ้นต่อไป
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา พบว่า
โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการนิเทศมีระดับ
ความเหมาะสมมากที่สุด ด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีระดับความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยการจัดการนิเทศเป็นแบบกัลยาณมิตร มีการสื่อสารที่ดีทำให้บุคลากรรู้สึกว่าการทำงานเป็นทีม
อาศัยบรรยากาศการสื่อความที่ชัดเจนและเหมาะสม บุคลากรทุกคนกล้าที่จะเปิดใจแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความเข้าใจและนำไปสู่การทำงาน
ที่มีประสิทธิภาพ ด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์นั้น ผู้บริหารมีการพัฒนาและประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอ
ให้ตนเองมีความสามารถสูงขึ้น โดยทราบว่าการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพจะต้องเกิดจาก
การพยายามรวบรวมและใช้ทักษะต่าง ๆ ของแต่ละคน และความรู้ในการบริหารสอนหรือพัฒนาบุคลากรให้มีลักษณะที่ดีขึ้น แสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม โดยมีทำงานร่วมกับบุคคลหรือคณะบุคคลในหน่วยงานของตนได้ทุกกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับจากผู้อื่นและส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงออกถึงความเป็นผู้นำ ทำให้บุคลากรทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ
จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีม
3. ผลการศึกษาการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียน
คุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา ระดับพฤติกรรมก่อนดำเนินการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน โดยด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการนิเทศแบบกัลยาณมิตร ในส่วนของระดับพฤติกรรมหลังดำเนินการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน
โดยด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมหนองศาลาสามารถส่งเสริมคุณภาพสถานศึกษาได้จริง
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียน
มัธยมหนองศาลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
และด้านการประเมินผลมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านการนิเทศ
แบบกัลยาณมิตร ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และจากการศึกษาระดับความพึงพอใจ การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวทางโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ POLA MODEL เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมหนองศาลา ด้านกลยุทธ์ของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก