ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจ
และการแก้ปัญหา ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนภูดินแดงวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
ผู้วิจัย พัชนี ใบธรรม
สังกัด โรงเรียนภูดินแดงวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวและผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 38 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็น สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 2) การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 3) ทดลองรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดการตัดสินใจและการแก้ปัญหา และแบบประเมินความพึงพอใจ หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่มีเว็บสนับสนุนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยทดสอบสมมติฐานของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน โดยใช้สูตร t-test (Dependent)
ผลการวิจัยม พบว่า
1. ลักษณะของการจัดกิจกรรมแนะแนวคือ 1) เป็นรูปแบบกิจกรรมที่ใช้พัฒนาการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ทั้งหมด 4 ด้าน คือ ด้านตนเองโดยทั่วไป ด้านครอบครัว ด้านศึกษาและสังคมและกลุ่มเพื่อน 2) กระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว 5 ขั้นดังนี้ (1) ในขั้นเตรียมความพร้อม (2) ขั้น
การพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ (3) ขั้นปฏิบัติสู่การเปลี่ยนแปลง (4) ขั้นนำเสนอ (5) ขั้นนำไปใช้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
2.1 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจ และ
การแก้ปัญหา ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบด้วย 2 องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ที่มาของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เป็นแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบกิจกรรม องค์ประกอบที่ 2 รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล แบ่งเนื้อหาทั้งหมดออกเป็น 3 ด้าน 1) การแนะแนวการศึกษา 2) ด้านการแนะแนวอาชีพ และ3) ด้านการแนะแนวส่วนตัวและสังคม
2.2 การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหา ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D =0.27)
2.3 ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้ มีความเหมาะสมระดับมาก ( =4.46,S.D =0.22)
3. ผลการทดลองรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
3.1 รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาสูงขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.93/83.39
3.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีการตัดสินใจและ การแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจและการแก้ปัญหาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวในระดับมากที่สุด ( = 4.57 , S.D = 0.10)