บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน JEPICA Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาอย่างมีอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน JEPICA Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน JEPICA Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน JEPICA Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)รูปแบบการจัดการเรียนการสอน JEPICA Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6)แบบวัดการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) สถิติทีแบบไม่เป็นอิสระ(t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content analysis)
ผลของการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สภาพปัจจุบันพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ไม่สามารถนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาไปใช้ในการแสวงหาความรู้ การจัดการเรียนการสอนยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง มุ่งสอนเนื้อหาวิชาเป็นหลัก ครูส่วนใหญ่เน้นการบรรยายความรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความจำ ไม่เน้นการทดลอง ไม่ฝึกการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
ความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหา พบว่าครูมีความจำเป็นและความต้องการรูปแบบและนวัตกรรมที่ใช้สอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้และวิธีการสอนคิดแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ต้องการแนวการสอนวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ต้องการวิธีสอนที่เร้าใจในการเรียน การจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติแบบกลุ่ม ทำให้นักเรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง
2. ผลการการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากผลการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี สาระสำคัญ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยออกแบบและพัฒนาขึ้นมีชื่อว่า JEPICA Model ขั้นตอนการเรียนการสอนจำนวน 6 ขั้นตอนคือโดยมีองค์ประกอบการสอน คือ ขั้นที่ 1 ร่วมสนุก (Join =J) ขั้นที่ 2 เสนอตัวอย่าง (Example=E) ขั้นที่ 3 การสอน (Pedagogy=P) ขั้นที่ 4 การปฏิบัติ (Implement= I) ขั้นที่ 5 สรุป (Conclude=C) ขั้นที่ 6 นำไปใช้ (Apply=A) ค่ามีประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการสอนโดยภาพรวมเท่ากับ 84.67/89.25สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน JEPICA Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) พบว่าความสามารถทางการเรียนด้านทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์และการการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน JEPICA Model เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.65