ชื่อเรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4R โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อเสริมสร้าง
ทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย นายไพบูลย์ ไชยขันธ์
หน่วยงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุดหว้า สังกัดเทศบาลตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์
จังหวัดกาฬสินธุ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4R โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80
2) ศึกษาระดับพัฒนาการทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4R โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความคงทนในพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4R โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ประชากรได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่มีอายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุดหว้า เทศบาลตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่มีอายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ห้อง 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุดหว้า เทศบาลตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 34 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4R โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน 2) แบบประเมินทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรม
ทางสังคมของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4R โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ทำให้เด็กปฐมวัย
มีทักษะทางสังคมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ระดับพัฒนาการทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4R โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี
3. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 4R โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ทำให้เด็กปฐมวัย
มีความคงทนของพฤติกรรมทางสังคม