ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้
มุ่งมั่นในการทำงาน และสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย ภิลัยวัณย์ วิภาวิน
สังกัด โรงเรียนภูดินแดงวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนภูดินแดงวิทยา 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในประเด็นดังต่อไปนี้ 3.1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ ด้านมุ่งมั่นในการทำงานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.4) เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนภูดินแดงวิทยา จำนวน 37 คน โดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Radom Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือรูปแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดใฝ่เรียนรู้ แบบวัดมุ่งมั่นในการทำงาน แบบประเมินการปฏิบัติงาน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน t-test (Dependent Sample )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนภูดินแดงวิทยา พบว่า สภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี อยู่ในระดับปานกลาง ( X ̅ = 3.42,S.D. = 0.86) และในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มี 3 ประเด็น คือ ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีได้เสนอแนะวิธีแก้ไขปัญหาโดยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และสร้างสรรค์ชิ้นงาน ในเนื้อหา เรื่อง สร้างสรรค์งานสวยด้วยเอกลักษณ์ไทย ให้มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลการสังเคราะห์ร่างรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน (Syntax) 4) ระบบสังคม (Social System) 5) หลักการตอบสนอง (Principle of reaction) 6) ระบบสนับสนุน (Support System) โดยมีขั้นตอนการสอนดังนี้ 1) ขั้นทวนความรู้เดิม 2) ขั้นเรียนรู้เนื้อหาใหม่ 3) ขั้นปฏิบัติให้ชำนาญ 4) ขั้นประเมินผลงาน และ 5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X ̅ =4.53, S.D.=0.66) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( X ̅ =4.52, S.D.=0.49) 3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีดังนี้
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ (E1/E2) เท่ากับ 85.86/85.09
3.2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึม พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 การเปรียบเทียบด้านใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนที่เรียน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึม คะแนนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.4 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมมีทักษะปฏิบัติ ขั้นเตรียม ขั้นปฏิบัติ ขั้นผลงาน ขั้นกิจนิสัย อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 84.14
3.5 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึม อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.57