ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น
(5E ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง มนุษย์กับ
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านเชตวัน
ผู้ศึกษา : วิไลภรณ์ วันลังกา
ปีที่ศึกษา : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านเชตวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียน เป็นหน่วยในการสุ่ม ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 17 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 15 คน ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านเชตวัน จังหวัดแพร่ รวมทั้งหมด 32 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยครูผู้สอนประจำรายวิชา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t - test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาความต้องการและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) นักเรียนต้องการให้มีคำชี้แจง กระชับชัดเจน
มีตัวอย่างลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นอันดับแรก นักเรียนต้องการเนื้อหาของเรื่องมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประโยชน์และความสำคัญของทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน นักเรียนต้องการลักษณะของการนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้โดยเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นรายบุคคล เป็นอันดับแรก
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวน
การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.16/86.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
5 ขั้น (5E) พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) การประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างการใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่ มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ปานกลาง ลำดับที่ 1 คือ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การจำแนกประเภท ลำดับที่ 2 คือ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต ลำดับที่ 3 คือ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การลงความเห็นจากข้อมูล การประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน ลำดับที่ 1 ด้านความอยากรู้อยากเห็น ลำดับที่ 2 ความพยายามมุ่งมั่น ลำดับที่ 3 ความร่วมมือช่วยเหลือ ลำดับที่ 4 ความมีเหตุผล และลำดับที่ 5 ความรับผิดชอบ การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) พบว่า โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ รูปแบบการเรียนรู้กระตุ้นความสนใจให้ปฏิบัติตามได้อย่างยิ่ง รองลงมา คือ รูปแบบช่วยทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้นและเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมมีความเหมาะสม ตามลำดับ