การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพเครื่องมือ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1-1/2 โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่กำลังเรียนในภาคเรียน
ที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 47 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัด
การเรียนรู้ จำนวน 22 แผน 2) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน จำนวน 20 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 20 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 91.00/90.00 ตามเกณฑ์ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7049 แสดงว่านักเรียน
มีคะแนนความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 70.49
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและก่อนเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีความพึงพอใจ
ในระดับมากที่สุด