จิราพร บุญทองกุล. (2560). ผลการใช้ชุดการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์แบบมุ่งประสบการณ์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือและความคิดสร้างสรรค์ชั้นเด็กเล็ก 1 ผลงานวิชาการ ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ๒ วัดประเดิม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย
การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์พัฒนา คือ 1)เพื่อศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของชุดการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือและความคิดสร้างสรรค์ชั้นเด็กเล็ก 1 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางของกล้ามเนื้อมือและความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยชุดการประสบการณ์ ของนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ๒ วัดประเดิม สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย 1)ชุดการจัดประสบการณ์ 2)คู่มือและแผนการจัดประสบการณ์ 3)แบบประเมินพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ และ 4) แบบประเมินพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์ ริชาร์ดสัน 20 ตรวจสอบสมมุติฐานด้วย การหาค่าประสิทธิภาพและการทดสอบค่าที
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการใช้ชุดการจัดประสบการณ์แบบมุ่งประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือและความคิดสร้างสรรค์ชั้นเด็กเล็ก 1 ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ชุดการประสบการณ์มีประสิทธิภาพในการทดลองใช้แบบภาคสนาม (1:30) เท่ากับ 85.68/86.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการใช้กล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดประสบการณ์ด้วยชุดการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์แบบมุ่งประสบการณ์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือและความคิดสร้างสรรค์ชั้นเด็กเล็ก 1 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยของพัฒนากล้ามเนื้อมือหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ด้วยชุดการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์แบบมุ่งประสบการณ์
3. ผลการใช้ด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังจัดประสบการณ์ด้วย ชุดการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์แบบมุ่งประสบการณ์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือและความคิดสร้างสรรค์ชั้นเด็กเล็ก 1 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยของพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ด้วยชุดการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์แบบมุ่งประสบการณ์