จิตรา ปลัดชัย. (2562). การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ ขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ ขอนแก่น ในภาพรวม และจำแนกรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ (1) การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (2) การประเมินปัจจัย หรือทรัพยากร (3) การประเมินกระบวนการ และ (4) การประเมินผลผลิต และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ ขอนแก่น ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม ได้แก่ การประเมินบริบท(Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ(Process Evaluation) และการประเมินผลผลิต(Product Evaluation) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 146 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน ครู จำนวน 26 คน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน และนักเรียน จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ ขอนแก่น สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก คูณลักษณะของนักเรียนที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับมาก
2. การประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน
เทพศิรินทร์ ขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับ มาก
จากผลการประเมินสามารถสรุปได้ว่าโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทพศิรินทร์ ขอนแก่น มีประโยชน์สำหรับนักเรียน ผุ้ปกครอง ครู ผู้บริหารสถานศึกษา มีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการต่อไป
JIDTRA PALADCHAI. (2019). The Evaluation of the Assistance and The Student Care
System Project in DebsirinKhonKaen School, Khon Kaen Secondary Educational
Service Area Office 25
ABSTRACT
The purpose of this evaluation research was to evaluate of the assistance and the Student Care System Project in DebsirinKhonKaen School, Khon Kaen Secondary Educational Service Area Office 25. The CIPP evaluation Model known as Context, Input , Process, and Outcome was use to evaluate the project. Research group were included 146 program administrators ( School director, teachers ,stake holders, and students). There were 3 evaluation forms : opinion questionnaires form , interview form, and observation form. Percentage, Average and Standard Deviation were used as a statistical tool for data analysis.
The result showed that:
1. Evaluate of the assistance and the Student Care System Project in
DebsirinKhonKaen School, Khon Kaen Secondary Educational Service Area Office 25. Both the context evaluation, Input evaluation , the process evaluation, and Outcome evaluation was rated at more level. The students characteristic of the project which attained the objectives of the project.
2. The students evaluation about satisfaction with The assistance and the
Student Care System Project in DebsirinKhonKaen School, Khon Kaen Secondary Educational Service Area Office 25 was rated at more level.
This conclusion of the Assistance and The Student Care System Project in
DebsirinKhonKaen School, was effectiveness and efficiency. The school should continue running this project because The Assistance and The Student Care System Project was very useful with student.