ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นางคำภู โคตรรัตน์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี
อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development)มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินคุณภาพของการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เรื่อง ทศนิยม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IPDSPIL Model) ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการสอน การดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา(Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D&D) ผู้วิจัยได้พัฒนาและหาคุณภาพ ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IPDSPIL Model) จำนวน 5 คน ตรวจสอบโครงร่างของรูปแบบการเรียนการสอนและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ และนำไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) เป็นการทดลองใช้ (Implementation : I) รูปแบบการเรียนการสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการสอน ในขั้นนี้ผู้วิจัยนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เป็นการประเมินผล (Evaluate: E) การประเมินและแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัยในขั้นตอนนี้เป็นการนำผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อน และหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของครู นักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ 3) รูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IPDSPIL Model) 4) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5) แผนการจัดการเรียนรู้ 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน รูปแบบการศึกษาแบบ One Group Pretest Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (IPDSPIL Model) ประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมและนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอปัญหา(Problem Presentation)ขั้นที่ 3 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) ขั้นที่ 5 ขั้นฝึกทักษะและฝึกหัด (Practical) และขั้นที่ 6 ขั้นบูรณาการแนวคิดและเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวันและชื่นชมความสำเร็จ (Integration and Linking to Life)ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการสอนมีความสอดคล้องกัน และเมื่อนำไปหาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ภาคสนาม กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 80.25/81.11 ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 36 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 82.54/83.61
2. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ (IPDSPIL Model) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ (IPDSPIL Model) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด