ชื่อผลงาน การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค
ชื่อผู้วิจัย นายธานินทร์ เลิศพันธ์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านบะแค ตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ซึ่งประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 101 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 11 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 45 คน ผู้ปกครอง จำนวน 45 คน รวม 90 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ และแบบประเมินความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) กำหนดค่าระดับ 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินด้านบริบท ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .85 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .43-.78 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .84 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .36.73 แบบประเมินด้านกระบวนการ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .22 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .25.91 แบบประเมินด้านผลผลิต ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .93 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .25-.77 แบบประเมินความพึงพอใจ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .56-.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.12, S.D.=1.09) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบริบท ( = 4.22, S.D.=1.03) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต ( =4.13, S.D.=1.11) ด้านปัจจัยนำเข้า ( =4.07, S.D.=1.11) และ ด้านกระบวนการ ( =4.07, S.D.=1.12) ตามลำดับ โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวม
2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.22, S.D.=1.03) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการนี้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ( =4.63, S.D.=1.78) รองลงมา คือ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ( =4.53, S.D.=0.85) และสอดคล้องกับความต้องการนักเรียน ( =4.28, S.D.=0.99) ตามลำดับ โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
3. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.07, S.D.=1.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากรในการดำเนินกิจกรรมมีจำนวนพอเพียง ( =4.19, S.D.=1.06) รองลงมา คือ ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมมีความเหมาะสม ( =4.10, S.D.=1.09) และ บุคลากรในการดำเนินกิจกรรมมีความเหมาะสม( =4.10, S.D.=1.12) ตามลำดับ โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
4. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.07, S.D.=1.12) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กำหนดบทบาทหน้าที่คณะกรรมการกิจกรรมชัดเจน ( =4.19, S.D.=1.06) รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ( =4.10, S.D.=1.12)และมีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจน ( =4.08, S.D.=1.08) ตามลำดับ โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
5. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.13, S.D.=1.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมสุขภาพบุคคลในโรงเรียน ( =4.10, S.D.=1.09) รองลงมา คือ การบริหารจัดการ ( =4.19, S.D.=1.06) และ โครงการร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน ( =4.10, S.D.=1.12) ตามลำดับ โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำแสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการ โดยรวมสอดคล้องกัน
6. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา
ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.10, S.D.=1.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สุขศึกษาในโรงเรียน ( =4.10, S.D.=1.09) รองลงมา คือ โครงการร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน ( =4.10, S.D.=1.09) และการส่งเสริมสุขภาพบุคคลในโรงเรียน ( =4.10, S.D.=1.09) ตามลำดับ โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมค่อนข้างต่ำ
แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน