ชื่อผลงาน การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษ
ที่ 21โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของโรงเรียนวัดควนนิมิตศิลา ปีการศึกษา 2562
ผู้ประเมิน นางทัศณีย์ เทพเนียม
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดควนนิมิตศิลา
หน่วยงาน โรงเรียนวัดควนนิมิตศิลา อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ปีการศึกษา 2562
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมของโรงเรียนวัดควนนิมิตศิลา ปีการศึกษา 2562 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการในด้านระดับคุณภาพการบริหารจัดการโครงการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประยุกต์รูปแบบซิปป์ ( CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน การประมินครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวนทั้งสิ้น 119 คน ประกอบด้วย ครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 8 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 52 คน
ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 52 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับ ได้
ค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง 0.88 - 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินปรากฏดังนี้
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมิน พบว่า ประเด็นการประเมินทุกตัวชี้วัด และภาพรวมของโครงการ
ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัดดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดอยู่ในระดับมากที่สุด
1.4 ความเป็นไปได้ของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัดดังนี้
2.1 ความพร้อมของบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความเพียงพอของงบประมาณอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์อยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ความเหมาะสมของการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด
2.5 หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัดดังนี้
3.1 การวางแผนการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 การดำเนินการตามแผนอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 การติดตามประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด
3.4 การนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัดดังนี้
4.1 ผลการประเมินระดับคุณภาพการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
อยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1.ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาองค์กร
1.2 ควรมีการสนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเอง ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อนำความรู้มาพัฒนานักเรียน
1.3 โรงเรียนควรจัดระบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนให้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ยั่งยืน
2.ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในลักษณะอื่นๆ