เรื่อง : การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ชื่อผู้ศึกษา : นางอรพิมพ์ ธงไชย
ปีการศึกษา : ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 (2.1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 (2.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะการปฏิบัติการตีกลองยาวของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 (2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทยที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาวสำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติการตีกลองยาว แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาวโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ประกอบด้วย (1) วัตถุประสงค์ (2) เนื้อหาสาระ (3) กระบวนการเรียนการสอน (4) การประเมินผล
2. ประสิทธิผลของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยรวมอยู่ในระดับดี
2.2 พัฒนาการทักษะการปฏิบัติการตีกลองยาวของนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานต่างกันที่เรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อ
พัฒนาทักษะการตีกลองยาว สำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ พบว่า ทักษะด้านความคล่องแคล่ว การควบคุมเสียง จังหวะแม่นยำ และการมีไหวพริบ โดยรวมมีพัฒนาการสูงข้น
2.3 นักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทยพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหลักสูตร
ท้องถิ่น เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านกลองยาว โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการตีกลองยาวสำหรับนักเรียนกิจกรรมชุมนุมดนตรีไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ทั้งด้านหลักสูตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก