ชื่อเรื่อง การบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย
ผู้วิจัย นางสาวจันทร์เพ็ญ ทรัพย์ประชา
สถานศึกษา โรงเรียนเมืองเชลียง
ปีที่ทำวิจัย 2560-2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเมืองเชลียง จำนวน 14 คน ครู จำนวน 66 คน นักเรียน จำนวน 302 คน และผู้ปกครอง จำนวน 302 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 684 คน
วิธีการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างรูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย โดยการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดในการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเมืองเชลียง ยกร่างรูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการตรวจสอบความตรงของรูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย และ 3) การศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย พบว่า มีความตรงและความเหมาะสมมาก โดยประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา และการจัดระบบบริหารจัดการของสถานศึกษา
2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงขึ้น มีผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-Net) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงขึ้น จำนวน 3 รายวิชา ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จากทั้งหมด 4 รายวิชา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้น จำนวน 3 รายวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ จากทั้งหมด 5 รายวิชา และนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 92.31
3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหารคุณภาพวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด