ชื่อเรื่อง กระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ
โรงเรียนเทศบาล 6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา
ชื่อผู้วิจัย นางสาวนัฐประวีณ์ ธนบุญทรัพย์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ)
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นใน
การสร้างกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทศบาล 6
(ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาครูสู่ความ
เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทศบาล 6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาล
เมืองพะเยา 3) เพื่อทดลองใช้กระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ
โรงเรียนเทศบาล 6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา และ4) เพื่อศึกษาผลการ
ใช้กระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทศบาล 6 (ครูบา
อินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา
(Research and Development) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานครู ครูอัตราจ้างและ
นักศึกษาฝึกสอนจำนวน 62 คนโรงเรียน เทศบาล 6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมือง
พะเยา ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานครูจำนวน 15 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการพัฒนากระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพพบว่า ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นในกระบวนการพัฒนา
ครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ในภาพรวมมีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับ
มากที่สุด
2. กระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทศบาล
6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า (Input)
ได้แก่ องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และปัจจัยสนับสนุนด้านการบริหารจัดการ 2)
กระบวนการพัฒนาครู (Process) 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการสร้างสรรค์ความตระหนัก ขั้นปฏิบัติ
ทดลองใช้ ขั้นนิเทศ กำกับ ติดตามเชิงรุก ขั้นสรุปบทเรียนรู้ และขั้นขยายผลสู่ทุกชุมชน 3) การ
ประเมินด้านผลผลิต (Output) ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์ และความพึง
พอใจ และ 4) การประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcome) ได้แก่ ผลที่เกิดขึ้นต่อนักเรียน ครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา สถานศึกษาและผลการประเมินความเหมาะสมของ
กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทศบาล 6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. การทดลองใช้กระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทศบาล 6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา 5 ขั้นตอนโดย 1) ในสร้างสรรค์ความตระหนัก ได้แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหาร กิจกรรม PLC และทีม PLC จำนวน 3 ทีม โดยแบ่งเป็นระดับ ปฐมวัย ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา รวม 14 กิจกรรม กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประเด็นพัฒนา ออกแบบและกำหนดปฏิทินการขับเคลื่อน PLC 2) ขั้นปฏิบัติทดลองใช้ ทีม PLC ได้ดำเนินกิจกรรมโดยวิเคราะห์ปัญหาการสอนและกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรม/แผนการสอน การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้/การปฏิบัติกิจกรรม ข้อสรุปการแสดงความเห็นสะท้อนความคิดของทีม และข้อสรุปเพื่อการนำไปปรับปรุงแก้ไข 3) ขั้นนิเทศ กำกับ ติดตามเชิงรุก ในรูปแบบการประชุมกลุ่ม ประชุมกลุ่มย่อยและนิเทศ ติดตามผลทางโทรศัพท์และโซเซียลมีเดีย 4) ขั้นสรุปบทเรียนรู้ได้จัดทำรายงานสรุปผลผลิต ผลลัพธ์ องค์ความรู้ และบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินงาน และ 5) ขั้นขยายสู่ทุกชุมชน โดยการจัดนิทรรศการแสดงผลงานกลุ่ม ประกวดผลงาน/นวัตกรรมดีเด่น ถอดบทเรียน จัดทำรายงานการวิจัย เพื่อเผยแพร่ในสถานศึกษาอื่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ผลการใช้กระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนเทศบาล 6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา พบว่า 1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของอยู่ในระดับมากที่สุด 2) มีทักษะและประสบการณ์ในการพัฒนากระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด 3) มีความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ภายหลังการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนเทศบาล 6 (ครูบาอินโตรัฐประชาอุทิศ) สังกัดเทศบาลเมืองพะเยา พบว่ามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะและประสบการณ์สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และผลการใช้กระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีทักษะการคิด การคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา กระบวนการทำงานแบบกลุ่ม มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออกได้ดีขึ้น 2) ครูมีความรู้และทักษะในการผลิตสื่อการสอนทักษะการสอน เทคนิควิธีการสอน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานร่วมกัน เกิดการพัฒนาตนเอง 3) ผู้บริหารสถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของครูในโรงเรียน 4) สถานศึกษาเกิดคุณลักษณะชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู มีครูมืออาชีพเพิ่มมากขึ้น มีคลังความรู้และนวัตกรรมการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา