ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน
โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ปีการศึกษา 2562
ผู้รายงาน นางอรุณี ประมาณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการประกอบด้วย คุณภาพการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ด้านความมีวินัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านการประหยัดและออม และด้านความซื่อสัตย์ของนักเรียน คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ปีการศึกษา 2562 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง และประชากร ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 45 คน ประชากรครูปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองปีการศึกษา 2562 จำนวน 43 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน บันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.922 - 0.964 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป SPSS for Windows V.16
ผลการประเมิน
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู ค่าน้ำหนัก 15 พบว่า ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการก่อนการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู ค่าน้ำหนัก 15 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (µ = 4.57, = 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็น ตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการ (Process) การดำเนินงานโครงการเสริมสร้าง คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาวปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ค่าน้ำหนัก 20 พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ด้านผลผลิต (Product) ในการดำเนินโครงการ ได้แก่
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพ การเสริมสร้างคุณธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 15 พบว่าทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับคุณภาพการเสริมสร้างคุณธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าน้ำหนัก 20 พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินมีผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในมาตรฐานที่ 1 ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ปีการศึกษา 2562 ค่าน้ำหนัก 5 พบว่า โดยรวมมีค่าคะแนนที่ได้เฉลี่ยร้อยละ93.84 อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยมได้คะแนนเฉลี่ย 5 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาวปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ปีการศึกษา 2562 โดยใช้รูปแบบซิปปี (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหาดทรายยาว เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม
1.2 โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
1.3 ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
1.4 ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาวที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปปีโมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ตามบริบทสภาพของโรงเรียนที่แตกต่าง
กัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
2.3 ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านหาดทรายยาว ในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูล เชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป