ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส32102
(เศรษฐศาสตร์)
ผู้วิจัย นางสาววราภรณ์ ย้อนโคกสูง
หน่วยงาน โรงเรียนประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิด
อย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส32102 (เศรษฐศาสตร์) ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส32102 (เศรษฐศาสตร์) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนประทาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส32102 (เศรษฐศาสตร์) จำนวน 36 ชั่วโมง จำนวน 1 ฉบับ แบบทดสอบวัดความรู้รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส32102 (เศรษฐศาสตร์) จำนวน 1 ฉบับและแบบประเมินพฤติกรรมกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ แบบ t test (One group pretest posttest design) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส32102 (เศรษฐศาสตร์) ที่มีองค์ประกอบสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมี 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1.1 แนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
1.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นั้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย ดังนี้
1) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม โดยนำเสนอเป็น 6 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 นำเสนอ
สถานการณ์ ขั้นที่ 2 พัฒนาแนวทางการคิด ขั้นที่ 3 พิจารณาปัญหา ขั้นที่ 4 สนทนาแลกเปลี่ยน ขั้นที่ 5 เรียนรู้ผลงานกลุ่ม และขั้นที่ 6 สรุปร่วมกัน
2) ระบบทางสังคม
3) หลักการตอบสนอง
4) ระบบที่นำมาสนับสนุน
1.3 การนำรูปแบบการสอนไปใช้
1.4 ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
2. ผลประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพ 82.20/82.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
3. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส32102 (เศรษฐศาสตร์) มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย
4. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา สังคมศึกษา รหัสวิชา ส32102 (เศรษฐศาสตร์) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาสังคมศึกษา รหัสวิชา ส32102 (เศรษฐศาสตร์) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย