การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเทศบาล 2 ศรีบุญเรือง สังกัดเทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การมี ส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะในการวิจัย ดังนี้ เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบ
การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเทศบาล 2 ศรีบุญเรือง สังกัดเทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน และเพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเทศบาล 2 ศรีบุญเรือง สังกัดเทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัยดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์และบูรณาการองค์ความรู้ ระยะที่ 2 เป็นการออกแบบและปรับปรุงพัฒนาร่างรูปแบบ ระยะที่ 3 ดำเนินการจัดทำรูปแบบและการประเมินรูปแบบ ระยะที่ 4 เป็นการนำเสนอรูปแบบ เผยแพร่ ขยายผล ทั้งนี้มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินในแต่ละระยะของการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบการบรรยาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ การพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย ปรากฏผลดังนี้
1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเทศบาล 2 ศรีบุญเรือง สังกัดเทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ความร่วมมือของเครือข่ายชุมชน
มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่
1.1 องค์ประกอบของรูปแบบที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา
1.2 องค์ประกอบด้านการจัดการศึกษา
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเทศบาล 2 ศรีบุญเรือง สังกัดเทศบาล เมืองเลย จังหวัดเลย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน
2.1 ความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของรูปแบบกับการบริหารงานวิชาการและการจัดการศึกษา มีความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีความสอดคล้องมากที่สุด มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ได้แก่ หลักการของรูปแบบ เงื่อนไขของความสำเร็จ การจัดกระบวนการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การติดตาม ประเมินผลและรายงานผล และการประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่าย รองลงมาเป็นองค์ประกอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.80 ได้แก่ การประเมินผล การนำรูปแบบไปใช้ การจัดองค์การ คุณภาพนักเรียนตามลักษณะความมีชีวิตพอเพียง การนำเสนอ เผยแพร่และขยายผล และการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2.2 รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเทศบาล 2 ศรีบุญเรือง สังกัดเทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 และองค์ประกอบด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่าย ค่าเฉลี่ย 4.71 ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการนำเสนอ เผยแพร่และขยายผล รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเทศบาล 2 ศรีบุญเรือง สังกัดเทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ต่อครูผู้สอน ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชนและตัวแทนเครือข่ายชุมชน จำนวน 138 คน มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 และองค์ประกอบด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่าย ค่าเฉลี่ย 4.80 ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด