เรื่อง รายงานการวิจัยและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model
เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริม
ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียน
วิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย จรัตน์ จอมแก้ว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 3.1 ) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียน 30 คนได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Samping) และกลุ่มขยายผลรูปแบบครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 21 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และ4) เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent Samples)
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถสรุปผลการวิจัย ดังนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่ยึดแบบเรียนเป็นหลัก โดยครูจะบรรยาย อธิบายให้นักเรียนฟัง และยกตัวอย่าง 2-3 ตัวอย่างบนกระดาน แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดจากแบบเรียน นักเรียนต่างคนต่างทำงานไม่ได้ฝึกการทำงานร่วมกัน นักเรียนมีวิธีการแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียว คือ ทำตามตัวอย่างที่ครูสอน มีวิธีการคิดไม่หลากหลาย และไม่กล้าคิดหาคำตอบที่แตกต่างจากครู กิจกรรมไม่ได้ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกคิดหรือแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ นักเรียนไม่กล้าแสดงออกตามศักยภาพ เกิดความเบื่อหน่าย และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อคณิตศาสตร์ จึงไม่สนใจเรียน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่ำจะเห็นได้ว่าผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินการวิเคราะห์โจทย์และหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้ นักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาต่ำ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระบบ สัมพันธ์และสอดคล้องกับหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือความเชื่อต่าง ๆในการจัดการเรียนรู้ ที่สามารถช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของรูปแบบและส่งผลให้นักเรียนสามารถค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ6) ระบบสนับสนุน โดยประยุกต์แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ รวมทั้งทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของ Bruner ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ของ Gagne ทฤษฎีพัฒนาการด้านความคิดของ Vygotsky ทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ของ Bloom และทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ของ Marzano มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Create Interest) 2) ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Review Prior Knowledge) 3) ขั้นเรียนรู้จากปฏิบัติ (Learn from Practice) 4) ขั้นทบทวนความรู้ใหม่ (Review of New Knowledge) 5) ขั้นประยุกต์ใช้ (Application) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.97/82.42 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทีทางสถิติที่ระดับ .05
4. การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ I2PNA Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มขยายผลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทีทางสถิติ ที่ระดับ .05