บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ 3) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ (4.1) ผลผลิตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (4.2) ผลผลิตด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1) ครูผู้สอน จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 60 คน และผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการประเมินดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.67, S.D. = 0.340) โดยข้อที่ 1 โครงการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.18, S.D. = 0.853) เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.72, S.D. = 0.365) โดยข้อที่ 10 โครงการเหมาะสมกับสถานการณ์ของสังคมปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.47, S.D. = 0.915) และเมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.57, S.D. = 0.275) โดยข้อที่ 1 โครงการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.29, S.D. = 0.756)
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.79, S.D. = 0.334) โดยข้อที่ 1 บุคลากรในโรงเรียนมีจำนวนเพียงพอในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.23, S.D. = 0.869) เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.67, S.D. = 0.290) โดยข้อที่ 7 สถานที่ดำเนินโครงการเพียงพอและเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.20, S.D. = 1.014) และเมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.06, S.D. = 0.270) โดยข้อที่ 1 บุคลากรในโรงเรียนมีจำนวนเพียงพอในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.43, S.D. = 0.787)
3. ด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.79, S.D. = 0.398) โดยข้อที่ 7 การประเมินผลระหว่างการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.18, S.D. = 0.958) เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75, S.D. = 0.439) โดยข้อที่ 7 การประเมินผลระหว่างการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.27, S.D. = 0.961) และเมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.87, S.D. = 0.304) โดยข้อที่ 8 การนิเทศ ติดตามของผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.29, S.D. = 0.951)
4. ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ดังนี้
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็น ด้านความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ระดับความคิดเห็น ด้านความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.489) โดยข้อที่ 8 ผู้เรียนเห็นคุณค่าของผู้ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.36, S.D. = 0.790) เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.13, S.D. = 0.514) โดยข้อที่ 4 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.47, S.D. = 0.743) และเมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.19, S.D. = 0.467) โดยข้อที่ 8 ผู้เรียนเห็นคุณค่าของผู้ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.71, S.D. = 0.488)
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็น ด้านพฤติกรรมของนักเรียนตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ระดับความคิดเห็น ด้านพฤติกรรมของนักเรียนตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.287) โดยข้อที่ 5 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทางกาย วาจา ใจ และข้อที่ 16 อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.86, S.D. = 0.351) เมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.316) โดยข้อที่ 5 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทางกาย วาจา ใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.93, S.D. = 0.258) และเมื่อจำแนกตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.72, S.D. = 0.150) โดยข้อที่ 10 ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ และมีคุณธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 5.00, S.D. = 0.000)
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็น ด้านพฤติกรรมของนักเรียนตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ระดับความคิดเห็น ด้านพฤติกรรมของนักเรียนตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.310) โดยข้อที่ 6 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.93, S.D. = 0.252)
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็น ด้านพฤติกรรมของนักเรียนตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า ระดับความคิดเห็น ด้านพฤติกรรมของนักเรียนตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.204) โดยข้อที่ 11 มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.87, S.D. = 0.468)
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็น ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อทำการคัดกรอง ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อ และด้านการดำเนินงาน ตามความคิดเห็นของนักเรียน 1) พบว่า ระดับความคิดเห็น ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อทำการคัดกรอง ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.410) โดยข้อที่ 4 นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพจากครูที่ปรึกษาหรือโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.83, S.D. = 0.457) 2) พบว่า ระดับความคิดเห็น ด้านการส่งเสริมนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.225) โดยข้อที่ 7 มีการจัดกิจกรรมโฮมรูมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.87, S.D. = 0.468) 3) พบว่า ระดับความคิดเห็น ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.357) โดยข้อที่ 1 ผู้ปกครองนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดูแลนักเรียน ข้อที่ 5 ครูที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับด้านโทษของสารเสพติด และข้อที่ 9 ครูที่ปรึกษามีการสื่อสารทางจดหมาย หรือโทรศัพท์ติดต่อกับผู้ปกครองเพื่อช่วยเหลือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.82, S.D. = 0.504) 4) พบว่า ระดับความคิดเห็น ด้านการส่งต่อ ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78, S.D. = 0.384) โดยข้อที่ 1 ครูที่ปรึกษาได้ส่งต่อนักเรียนที่แก้ไขปัญหาไม่ได้ไปยังครูคนอื่น ครูแนะแนว หรือครูปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.80, S.D. = 0.514) 5) พบว่า ระดับความคิดเห็น ด้านการดำเนินงาน ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.398) โดยข้อที่ 4 ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้นักเรียนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.82, S.D. = 0.504) 6) พบว่า ระดับความคิดเห็นของผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดเขาวงก์ ตามความคิดเห็นของนักเรียนทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.240) โดยด้านการส่งต่อมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.78, S.D. = 0.384)
5. แสดงผลการเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์และระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดเขาวงก์ กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสอบถามปลายเปิด ผู้ประเมินได้สรุปโดยเรียงลำดับความถี่ (f) จากมากไปน้อยและระบุจำนวนของความถี่ไว้ในวงเล็บดังนี้
5.1 ข้อเสนอแนะของนักเรียนต้องการให้ครูที่ปรึกษาดำเนินการ
5.1.1 ครูควรแนะนำนักเรียนได้ทุกเรื่อง และหากนักเรียนมีปัญหาไปปรึกษาควรเก็บเป็นความลับ ไม่ซ้ำเติมนักเรียน (20)
5.1.2 ไม่ควรทำให้นักเรียนเครียด เช่น พูดมากเกินไป หรืออารมณ์ไม่ดีแล้วไปดุด่านักเรียน (15)
5.1.3 ครูควรทำโทษนักเรียนเมื่อทำผิด (15)
5.1.4 ครูควรทำความคุ้นเคยกับนักเรียนให้เหมือนเพื่อน เป็นกันเองกับนักเรียนและเข้าใจนักเรียนให้มากขึ้น เพื่อนักเรียนจะได้กล้าพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองให้ครูฟังเพื่อจะได้ช่วยแก้ไข (13)
5.1.5 ควรจัดกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาเหมือนกันมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน (13)
5.2 ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลแก้ไขปัญหาร่วมกัน
5.2.1 ผู้ปกครองควรจะมีการประสานกับครูที่ปรึกษาเพื่อช่วยกันดูแลและแก้ไขปัญหานักเรียนทั้งทางจดหมาย โทรศัพท์ หรือมาพบด้วยตนเอง (21)
5.2.2 ควรติดต่อกับครูทุกเดือนเพื่อรับทราบความเป็นไปของบุตรหลานตนเองในระหว่างอยู่โรงเรียน (15)
5.2.3 ไม่ควรปกปิดความประพฤติที่ไม่ดีของบุตรหลานตนเองและแจ้งให้ครูทราบเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา (14)
5.2.4 ควรยอมรับความผิดของบุตรหลานของตนเองที่ได้กระทำในระหว่างไปโรงเรียน (10)
5.3 ปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5.3.1 ผู้ปกครองนักเรียนไม่สนใจปัญหาของนักเรียนและไม่หาแนวทางแก้ไขร่วมกับครูที่ปรึกษา (17)
5.3.2 นักเรียนในปัจจุบันนี้ไม่เชื่อฟังครู ไม่เคารพครูและไม่ให้ความร่วมมือกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่ครูหรือโรงเรียนกำหนดไว้ (12)
5.4 ข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน
5.4.1 ควรให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และประชุมบ่อย ๆ (15)
5.4.2 โรงเรียนควรจัดสถานที่พักผ่อนให้นักเรียนมากขึ้น (9)
ข้อเสนอแนะ
1. เกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ควรจัดกิจกรรมแบบบูรณาการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ลงไปในทุกทุกลุ่มสาระการเรียนรู้ และนำกิจกรรมย่อยของโครงการไปฝึกปฏิบัติ เพื่อให้นักเรียนได้ซึมซับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไปโดยไม่รู้ตัว
2. รูปแบบของการจัดกิจกรรม ควรให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบดำเนินงาน เพื่อให้เข้ากับสภาพชุมชน สังคม สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ควรระดมทรัพยากรจากทุกฝ่าย เพื่อนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินงาน
3. การส่งเสริมนักเรียน ครูควรแนะนำนักเรียนได้ทุกเรื่องและหากนักเรียนมีปัญหาไปปรึกษาควรเก็บเป็นความลับ ไม่ซ้ำเติมนักเรียน
4. ควรมีมาตรการในการรักษามาตรฐานการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และพัฒนาการดำเนินงานให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมและประเทศชาติต่อไป
5. ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ควรสนับสนุนให้ครูผู้ปกครองและชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการวิจัยหรือประเมิน เพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมและมีกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต่อเนื่องและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน
6. การดำเนินโครงการควรมีการประเมินพฤติกรรมนักเรียน โดยใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานเพื่อตรวจสอบผลผลิตในดำเนินการประเมินโครงการทุกปีการศึกษา และนำผลการประเมินมาเปรียบเทียบพัฒนาการในการดำเนินการโครงการต่อไป
7. ควรประเมินผลจากการจัดกิจกรรมย่อยของทุกกิจกรรม ของโครงการ เพื่อหาคุณภาพความสำเร็จของกิจกรรมให้ตรงประเด็นที่ต้องการ
8. ควรมีการศึกษา เรื่องพฤติกรรมนักเรียนจากการใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนในโรงเรียนวัดเขาวงก์