วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)
เรื่อง ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามแนวทาง CHUCHI Model
โดย
นางสาวทิพวรรณ สีดำ
ครูโรงเรียนบ้านฉู่ฉี่
โรงเรียนบ้านฉู่ฉี่
หมู่ ๔ ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
แบบรายงาน วิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ สำหรับ สถานศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อผลงาน (Best Practice) กิจกรรมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามแบบCHUCHI Model
คำสำคัญ ChuChi Model คือการพัฒนางานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างครู ผู้ปกครอง นักเรียน หน่วยงานชุมชนโดยการบูรณาการร่วมกัน
ผู้บริหาร นางสิริรัชต์ แก้วงาม
ผู้รับผิดชอบ นางสาวทิพวรรณ สีดำ
1. ความสำคัญและความเป็นมา
สภาพทั่วไป
โรงเรียนบ้านฉู่ฉี่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กพิเศษจัดการศึกษาในระดับอนุบาล2ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนทั้งหมด 52 คน มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 4 คน และครูอัตราจ้าง 3 คน จากสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านวัตถุ อีกทั้งปัญหาเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดความเครียด การปรับตัวที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกับนักเรียนที่ขาดความมั่นคงด้านจิตใจ กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต สุขภาพกาย แต่หากว่านักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริมจากผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีความสุข ปรับตัวได้ดี มีความสามารถทางสติปัญญาและความพร้อมด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามความมุ่งหวังและหลักการจัดการศึกษา ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553
การยกระดับการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม สร้างวินัย จิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม การยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความภาคภูมิใจในความเป็นไทย การมีจิตสาธารณะ ความตระหนักถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมมากกว่าส่วนตน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักการประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด อุดมการณ์ และความเชื่อ รวมทั้งรู้คุณค่าและสืบสืบวัฒนธรรมขนบประเพณีอันดีงามของไทย ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนา
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน และครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพและมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นการส่งเสริมพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาให้นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง มีทักษะในการดำรงชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดประเจียก มีโครงสร้างที่ชัดเจน ประกอบด้วย ทีมนำ ทีมประสาน ทีมทำ มีการกำหนดภาระหน้าที่แต่ละทีมอย่างชัดเจน ส่วนขั้นตอนในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนั้น โรงเรียนได้ดำเนินการตามแนวทางที่กรมสุขภาพจิตกำหนด 5 ขั้นตอน คือ
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการเยี่ยมบ้านนักเรียน การประชุมผู้ปกครองนักเรียนและสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล
2. การคัดกรองนักเรียน โดยใช้แบบประเมินนักเรียน (SDQ) 3 ฉบับ คือ ฉบับนักเรียน ฉบับผู้ปกครอง ฉบับครู และแบบประเมิน EQ แล้วสรุปเป็น 3 ประเด็น คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปัญหา
3. การส่งเสริมนักเรียน จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมทักษะให้กับนักเรียน โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ
4. ป้องกันและแก้ไขปัญหา โรงเรียนได้เฝ้าระวังโดยการกำหนดระเบียบ การเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมต่าง ๆ การตรวจสุขภาพ
5. การส่งต่อ กรณีนักเรียนมีปัญหาด้านพฤติกรรม ก็จัดให้มีการส่งต่อ
ความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนจะส่งผลให้นักเรียนที่มีปัญหาได้รับการแก้ไขจึงได้ดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแนวทางCHUCHI Model
2.วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1. เพื่อในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อลดภาระงานของครูที่ปรึกษาในการกรอกข้อมูลจำนวนมาก
3. เพื่อจัดเก็บข้อมูลนักเรียนในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ และเข้าถึงได้ง่ายๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์
4. สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และการมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3.ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นงานที่มีการบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมากมายที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน ทั้งระเบียนสะสม ข้อมูลพฤติกรรมนักเรียน การประเมินต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นภาระหนักของครูที่ปรึกษาเป็นอย่างมาก ดังนั้นการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ จึงได้ประยุกต์หลักการทำงานตามแบบ CHUCHI Model ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ขั้นการร่วมมือ(Coordination)
งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ถือว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีขอบเขตกว้าง มีผู้เกี่ยวข้องมากมายหลายฝ่าย เพื่อวัตถุประสงค์ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้มีพฤติกรรอันพึงประสงค์ และช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาได้อย่างทันท่วงที การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรหลายฝ่าย ดังนี้
1.1 ครูที่ปรึกษา ครูที่ปรึกษาคือหัวใจสำคัญของงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพราะเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดนักเรียนเป็นอย่างมาก มีข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนมากที่สุด และจะเป็นผู้ช่วยเหลือนักเรียนก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้นความร่วมมือการมีส่วนร่วมจากครูที่ปรึกษาจึงถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด
1.2 ผู้บริหารโรงเรียนบ้านฉู่ฉี่ ได้ให้ความสำคัญกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่ความสำเร็จ ได้รับรางวัลเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจำนวนมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา
1.3 ผู้ปกครองนักเรียน ที่ให้ความเอาใจใส่ในพฤติกรรมนักเรียนที่เป็นบุตรหลานของตนเอง จะช่วยให้ครูที่ปรึกษาทำงานแก้ไขปัญหานักเรียนได้รวดเร็ว สะดวกมาก สามารถแก้ไขปัญหาได้ลุล่วงไปด้วยดี
1.4 องค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ให้การสนับสนุนในการส่งต่อหรือการแก้ปัญหานักเรียน
2.ขั้นสร้างความตระหนักในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน(Human Mindset) โดยครูทุกคนสร้างความตระหนัก ในการทำงานระบบการดูแล 5 ขั้นตอน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการเยี่ยมบ้านนักเรียน การประชุมผู้ปกครองนักเรียนและสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน โดยใช้แบบประเมินนักเรียน (SDQ) 3 ฉบับ คือ ฉบับนักเรียน ฉบับผู้ปกครอง ฉบับครู และแบบประเมิน EQ แล้วสรุปเป็น ประเด็น คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปัญหา การส่งเสริมนักเรียน จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมทักษะให้กับนักเรียน โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ การป้องกันและแก้ไขปัญหา โรงเรียนได้เฝ้าระวังโดยการกำหนดระเบียบ การเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมต่าง ๆ การตรวจสุขภาพ การส่งต่อ กรณีนักเรียนมีปัญหาด้านพฤติกรรม ก็จัดให้มีการส่งต่อ
3. สร้างความเป็นเอกภาพในการทำงาน(Unity of direction) โดยการจัดทำโครงการดำเนนิงานตามแผนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและ จัดทำแผนการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการ PLC จัดให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม การเรียน เป็นต้น โดยเน้นการใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยให้การเข้าถึงนักเรียนได้อย่างละเอียด และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหานักเรียนให้มากที่สุด ทั้งนั้นการใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลนักเรียนนั้น ต้องไม่เป็นภาระให้กับครูที่ปรึกษาและตัวนักเรียนเอง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนักเรียนนั้น มีดังนี้
3.1. แบบฟอร์มระเบียนสะสม
การเก็บข้อมูลในระเบียนสะสมที่ละเอียด ครอบคลุมข้อมูลทุกด้านของนักเรียน จะทำให้ครูที่ปรึกษารู้จักนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น
3.2 แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) จำนวน 3 ฉบับ
ข้อมูลที่ได้จากแบบประเมินพฤติกรรม จะช่วยให้ครูที่ปรึกษาเข้าใจพฤติกรรมนักเรียนได้ดี และสามารถเลือกใช้วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ดีมากขึ้น
3.3 แบบประเมินภาวะทางอารมณ์(EQ)
ผลการประเมินภาวะทางอารมณ์(EQ)จะช่วยให้ครูที่ปรึกษาเข้าใจนักเรียนที่ตนเองปกครองในชั้นเรียน ทำให้เข้าใจพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก พร้อมกับหาแนวทางแก้ไขให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
3.4 แบบประเมินทักษะชีวิต
3.5 แบบวัดภาวะซึมเศร้า
การใช้แบบวัดภาวะซึมเศร้าของนักเรียน จะทำให้ครูที่ปรึกษาเข้าใจพฤติกรรมที่ชอบเก็บตัวของนักเรียนได้ละเอียดยิ่งขึ้น ทำให้ครูที่ปรึกษาไม่มองข้ามปัญหาที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายๆ พร้อมหาทางช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
36. แบบคัดครองนักเรียนที่ใช้สารเสพติด
กลุ่มงานกิจการนักเรียน ได้ใช้แบบคัดกรองการใช้สารเสพติด เพื่อคัดกรองนักเรียนว่ามีนักเรีนกลุ่มเสี่ยงมากน้อยเพียงไร และนำกลุ่มเสี่ยงมาตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะภาคเรียนละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย เพื่อค้นหาการใช้สารเสพติดในโรงเรียน
4. การควบคุมกำกับดูแล(Controlling) โดยผู้บริหารกำกับดูแล การทำงาน อำนวยความสะดวกทุกขั้นในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5. ขั้นสร้างขวัญและแรงใจในการทำงาน(Happy Heart)
6. ขั้นบูรณาการงานอย่างสร้างสรรค์(Intergation) โดยใช้การทำงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในการดูแลนักเรียนครบทุกด้าน คือ ด้านการเรียน ด้านครอบครัว ด้านพฤติกรรม และด้านสังคม
4.. ผลการดำเนินงาน/ ประโยชน์ที่ได้รับ
การมีส่วนร่วมของสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครองในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
กระบวนการ โรงเรียน/ครู กรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง
รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ศึกษาและจัดทำข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เยี่ยมบ้านนักเรียน ประสานผู้ปกครอง ชุมชน เป็นเครือข่ายการให้ข้อมูลข่าวสาร อำนวยความสะดวก ติดต่อ สื่อสารกับผู้ปกครองและชุมชน
คัดกรองนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูล จัดกลุ่มนักเรียน 4 กลุ่ม กลุ่มพิเศษ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ครูเป็นรายกรณี
ส่งเสิรมนักเรียน จัดกิจกรรมสร้างสัมพันธ์และเสริมศักยภาพนักเรียน กิจกรรมโฮมรูม ประชุมผู้ปกครองนักเรียน กิจกรรมเสริมความถนัดและความสนใจ และเสริมสร้างทักษะดำรงชีวิต ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ บุคลากร บริหารทั่วไป ให้ความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นเครือข่ายและขยายเครือข่ายการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน
ป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้คำปรึกษาเบื้องต้น จัดกิจกรรมสำหรับป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียน กิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมดูแลแก้ไขปัญหานักเรียน สอดส่องดูแลให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมนักเรียนจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยจากสภาวะวิกฤต เป็นเครือข่ายและขยายเครือข่ายการช่วยเหลือคุ้มครองนักเรียน กำกับ ติดตามดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการพิทักษ์ และคุ้มครองสิทธิเด็ก
ส่งต่อ วิเคราะห์สาเหตุปัญหาซ้ำซ้อน หาทางแก้ไข บันทึกการส่งต่อนักเรียนไปยังผู้เกี่ยวข้องภายในและภายนอกโรงเรียน ติดตามประเมินผล ประสานบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในการส่งต่อนักเรียน
4. บทเรียนที่ได้รับ
เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้ว ส่งผลต่อโรงเรียนอบ้านฉู่ฉี่ได้บทเรียนในการทำงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังนี้ คือ
1 ผู้บริหารโรงเรียน และครุตระหนักถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และให้การสนับสนุนการดำเนินงาน หรือร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
2. ครูทุกคนและผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความตระหนักในความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน มีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกกด้าน
3. คณะกรรมการหรือคณะทำงานทุกคณะ ต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด และมีการประชุมในแต่ละคณะ อย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนด
4. ครูที่ปรึกษาเป็นบุคคลหลักสำคัญในการดำเนินงาน โดยต้องได้รับความร่วมมือจากครูทุกคนในโรงเรียน รวมทั้งการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ จากโรงเรียน
5.การอบรมให้ความรู้และทักษะ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้แก่ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะเรื่อง ทักษะการให้คำปรึกษาเบื้องต้นและแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของนักเรียน โรงเรียนควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
5. ปัจจัยความสำเร็จ
ความสำเร็จของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านฉู่ฉี่มาจากปัจจัยที่สำคัญ คือ
1.การสนับสนุนของผู้บริหาร ผู้บริหารของโรงเรียนบ้านฉู่ฉี่ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทั้งด้านวิชาการ ด้านสังคมหรือศิลปะวัฒนธรรม เช่น นักเรียนพิการโรงเรียนบ้านฉู่ฉี่ได้รับรางวัลเหรียญทองการแข่งขันร้องเพลงไทยลูกทุ่งจากงานศิลปหัตกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67 จ.สมุทรปราการ
2. การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีมของบุคลากรภายในโรงเรียนโดยเฉพาะคณะครู จากระบบข้อมูลของนักเรียน จะเห็นได้ว่าหากปราศจากการทำงานเป็นทีมแล้ว ข้อมูลดังกล่าวจะไม่สามารถรวบรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย การทำงานซึ่งเกิดจากครูที่ปรึกษา ครูหัวหน้าระดับ ต้องทำงานประสานงานกันอย่างใกล้ชิด
3.การสร้างความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องระหว่างบ้านและโรงเรียน คือการสร้างความสัมพันธ์กับครูและผู้ปกครอง เพื่อให้ระบบมีประสิทธิผล เน้นความใกล้ชิดกันระหว่างครูกับผู้ปกครองนักเรียน กระตุ้นให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทในการดูแลนักเรียน
4.ความชัดเจนในเรื่องของการนำหลักวินัยเชิงบวกมาใช้ในการบริหารจัดการพฤติกรรมนักเรียน ทำให้ลดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของนักเรียนลงไปได้มาก ลดภาวะเครียดให้กับครูที่ปรึกษาลงได้มาก
5.ความศรัทธาของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียน
6.ผลที่เกิดกับนักเรียน นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม คุณลักษณะอันพึงประสงค์
7.ผลที่เกิดกับครู ครูมีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับนักเรียน สามารถวางแผนในการป้องกัน การพัฒนาและส่งเสริมให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เต็มตามศักยภาพของนักเรียน
8.ผลที่เกิดกับโรงเรียน เป็นที่ยอมรับจากสังคม
9.ผลที่เกิดกับชุมชน ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
6.บทเรียนที่ได้รับ
บทเรียนจากการทำงานตามรูปแบบCHUCHI Model ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ
1. การร่วมมือในการทำงานของ ผู้บริหารโรงเรียน และครูทุกฝ่ายที่ คณะกรรมการหรือคณะทำงานทุกคณะ ต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด และมีการประชุมในแต่ละคณะ อย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนด 2. การจัดการบุคลากรในการทำงานเป็นทีมมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกกด้าน
3. การจัดการองค์กรอย่างมีคุณภาพจะทำให้การทำงานบรรลุถึงเป้าหมาย
4. ผู้บริหารต้องมีการกำกับนิเทศติดตาม งานอย่างใกล้ชิดโดยต้องได้รับความร่วมมือจากครูทุกคนในโรงเรียน รวมทั้งการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ จากโรงเรียน
5. การให้ขวัญให้กำลังใจการอบรมให้ความรู้และทักษะ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้แก่ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะเรื่อง ทักษะการให้คำปรึกษาเบื้องต้นและแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของนักเรียน โรงเรียนควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
6. การบูรณาการงานทุกงานให้บรรลุจุดหมายเดียวกันจะส่งผลให้ครูไม่เห็นว่าเป็นภาระงานที่หนัก
7. การเผยแพร่/ การได้รับการยอมรับ/ รางวัลที่ได้รับการยกย่อง
1.เผยแพร่การดำเนินงานทางอินเตอร์เนตในWEBSITE ครูบ้านนอก
2.เผยแพร่ผลงานทางFacebook โรงเรียน
3.ได้รับรางวัล ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประเภทเหรียญเงินโรงเรียนขนาดเล็ก ในระดับเขตตรวจราชการที่ 4 ปีการศึกษา 2562
4.นักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ได้รับรางวัล เหรียญทอง การแข่งขันร้องเพลงไทยลูกทุ่งในงานศิลปะหัตกรรมระดับชาติครั้งที่ 69
8. ภาคผนวก (ร่องรอย หลักฐาน ภาพถ่าย ชิ้นงาน ฯลฯ)
ขั้นตอนที่ 1 รู้จักนักเรียนรายบุคคลโดยออกเยี่ยมบ้านนักเรียนร้อยละ 100
ขั้นที่ 2 การคัดกรองนักเรียน 1. กลุ่มปกติ คือ นักเรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียนแล้ว อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติ. กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหาตามเกณฑ์การคัดกรองของโรงเรียน
ขั้นที่3 การส่งเสริมนักเรียน ด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติ กลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยงละกลุ่มมีปัญหาและเป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงละกลุ่มมีปัญหา กลับมาเป็นนักเรียนกลุ่มปกติ และมีคุณภาพตามที่โรงเรียนหรือชุมชนคาดหวังต่อไป
ขั้นที่ 4. การป้องกันและแก้ไขปัญหาช่วยเหลือนักเรียน
ประชุมผู้ปกครองเครือข่าย
ขั้นที่ 5. การส่งต่อ นักเรียน
โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ในเรื่องผลการประเมินคุณภาพการศึกษา
ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตซอลรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี จากเทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
นักเรียนเป็นผู้สุขภาพกายสุขภาพจิตดี มีทักษะชีวิต
นักเรียนร้อยละ 100 มีสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ครูและบุคลากรมีความมุ่งมั่นในการทำงาน เสียสละเวลา จนเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
จัดนิทรรศการแสดงผลงานการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
จัดนิทรรศการ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
นำเสนอผลงาน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่อผู้มาเยี่ยมชม