ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด
สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง
ผู้วิจัย นางสาวพรวิภา ปราณีสร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการ
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด
สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูดชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการฟังและการพูด ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลหลังจัดประสบการณ์ โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการฟังและการพูด ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 3) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมพัฒนาการด้านการฟังและการพูด ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 หลังจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง และเปรียบเทียบพัฒนาการด้านการฟังและการพูดระหว่างก่อนและหลังจัดประสบการณ์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง กลุ่มเป้าหมาย คือ ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 24 แผ่น แบบประเมินพัฒนาการด้านการฟังและการพูดก่อนและหลังจัดประสบการณ์ จำนวน 20 ข้อ แบบประเมินพัฒนาการด้านการฟังและการพูดระหว่างจัดประสบการณ์ ประจำหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 8 ฉบับ ๆ ละ 5 ข้อ แบบสังเกตพฤติกรรมพัฒนาการด้านการฟังและการพูด และแบบสอบถามความพึงพอใจ และผลการหาคุณภาพของแบบประเมินพัฒนาการด้านการฟังและการพูดก่อนและหลังจัดประสบการณ์ จำนวน 20 ข้อ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60 - 1.00 มีค่าความยาก (p) 0.38 0.76 และมีอำนาจจำแนก (B) 0.46 0.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 และแบบประเมินพัฒนาการด้านการฟังและการพูดระหว่างจัดประสบการณ์ประจำหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 8 ฉบับ ๆ ละ 5 ข้อ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60 - 1.00 มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.40 ถึง 0.84 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.46 ถึง 0.82 มีค่าความเชื่อมั่น (rcc) เท่ากับ 0.64, 0.72, 0.78, 0.66, 0.64, 0.64, 0.68 และ 0.64 ตามลาดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t - test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ที่ใช้จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 97.13/90.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 /80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลทางพัฒนาการด้านการฟังและการพูดหลังจัดกิจกรรมเสริม
ประสบการณ์ โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เท่ากับ 0.7654 คิดเป็นร้อยละ 76.54
3. ผลการประเมินพฤติกรรมพัฒนาการด้านการฟังและการพูด หลังจัดกิจกรรม
เสริมประสบการณ์ โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง อยู่ในระดับดี และมีพัฒนาการ
ด้านการฟังและการพูดหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจหลังจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด