การวิจัยในชั้นเรียน
1. เรื่อง พัฒนาทักษะการพัฒนาการสร้าง และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนชุมชนวัดหนองตำลึง
2. ความสำคัญและที่มา
ในการพัฒนาวิชาคณิตศาสตร์ เป็นการพัฒนาที่เน้นการสอน เพื่อพัฒนาในด้านทักษะ และวิธีในการคิดคำนวณเป็นพื้นฐานในการศึกษาความรู้ ในการสอนที่ผ่านมาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านความสามารถการสร้างโจทย์ปัญหา และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณยังต่ำกว่าทักษะอื่น ๆทั้งนี้เกิดจากสาเหตุสำคัญ คือ นักเรียนไม่รู้หลักการสังเกตว่าโจทย์ปัญหาการคูณมีข้อสังเกตคืออะไร และไม่สามารถนำสิ่งที่กำหนดมาให้มาสร้างโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง และจากการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 25 คน นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในด้านการสร้างโจทย์ปัญหา และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณ ดังนั้นผู้ทำการวิจัยจึงหาวิธีการดำเนินการเพื่อที่จะแก้ปัญหา และพัฒนาให้นักเรียนเกิดทักษะในด้านการสร้างโจทย์ปัญหาสร้าง และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณ ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นในการพัฒนาครั้งนี้จะใช้วิธีการประเมินนักเรียนปกติ จำนวน 25 คน ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. จุดมุ่งหมาย
เพื่อพัฒนาทักษะในด้านการสร้างโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณ ด้วยวิธีการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรต้น
1. วิธีการสอนตามปกติ
2. ชุดฝึกทักษะการสร้างโจทย์ปัญหา และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณ
3. การตรวจแบบฝึกหัด
- ตัวแปรตาม
1. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
2. ทักษะการสร้างโจทย์ปัญหาการคูณ
5. กรอบแนวคิดในการทำวิจัย
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 มีทักษะในการสร้างโจทย์ปัญหาการคูณ
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 สามารถบอกได้ว่าโจทย์ปัญหาการคูณ มีหลักการสังเกต
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณได้อย่างถูกต้อง
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์เพื่อที่จะให้การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์สัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น
7. ขอบเขตของการวิจัย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนชุมชนวัดหนองตำลึง จำนวน 25 คน ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2562
8. วิธีดำเนินการวิจัย
- ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
- เขียนเค้าโครงการทำวิจัย
- จัดเตรียมเอกสารแบบทดสอบ
- ปรับแผนการสอนให้สอดคล้องกับงานวิจัย
- เตรียมการสอนตามแบบแผนที่ปรับเปลี่ยน
- สอนโดยใช้วิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์และใช้เทคนิคการทำแบบฝึกหัดที่หลากหลายโดยใช้สื่อภาพ เพื่อส่งเสริมการทำแบบฝึกหัด
- ทำแบบฝึกเสริมทักษะ
- สรุปผล ประเมินผล
ตารางที่ 1 การพัฒนาการสร้างโจทย์ปัญหาการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3
โรงเรียนชุมชนวัดหนองตำลึง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
ที่ ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1
(2 ข้อ)
ครั้งที่ 2
(2ข้อ)
ครั้งที่ 3
(2ข้อ)
ครั้งที่ 4
(3ข้อ)
ครั้งที่ 5
(3ข้อ)
ครั้งที่ 6
(3ข้อ)
สรุปคิดเป็นร้อยละ
1 ด.ช.พงศกร ศรีพูล 0 1 1 2 2 3 60.00
2 ด.ช.รณกร คล้ายสุวรรณ 0 0 2 2 3 3 66.67
3 ด.ช.เตชิต ศรีมาศ 1 1 2 2 3 3 80.00
4 ด.ช.ปราเมศ ยินดีสุข 0 0 1 1 1 2 33.33
5 ด.ช.ณัฏฐกร ทัดศรี 0 0 1 2 1 3 46.67
6 ด.ช.ณฐกร สุขประเสริฐ 0 1 0 1 2 2 40.00
7 ด.ช. ถิรวัฒน์ สร้างวัด 0 0 1 1 1 2 33.33
8 ด.ช. บวรสิทธิ์ เปลี่ยนศรี 0 1 1 2 2 3 60.00
9 ด.ช.ปรเมศวร์ เพิ่มพูล 0 1 1 1 2 3 53.33
10 ด.ช.พลกฤต แพ่งพนม 1 2 2 2 3 3 86.67
11 ด.ช.ตะวัน มะหันตะ 0 1 1 1 2 3 53.33
12 ด.ช.รัชชานนท์ อัคฮาด 0 0 1 1 1 2 33.33
13 ด.ญ.พรพิมล เถื่อนสุข 0 1 2 2 2 2 60.00
14 ด.ญ.ภคพร ผิวบาง 0 0 1 1 1 1 26.67
15 ด.ญ.ลภัสกร ฤทธิรณ 1 1 2 2 3 2 73.33
16 ด.ญ.ลภัสสินี พลพวก 0 1 1 2 2 3 60.00
17 ด.ญ.ชรินทิพย์ อุดมฤทธิ์ 0 1 1 1 2 2 46.67
18 ด.ญ.ณัฐนิดา นพเกตุ 0 1 2 2 2 2 60.00
19 ด.ญ.วิชุดา ขจรงาม 0 1 2 2 2 3 66.67
20 ด.ญ.พิมพ์รภัทร จันทร์ปัญญา 0 1 1 2 2 2 53.33
21 ด.ญ.โยษิตา จันสด 0 1 1 1 2 2 46.67
22 ด.ญ.จุฑาทิพย์ พันธุลา 1 1 2 2 2 3 73.33
23 ด.ญ.อัญชรีพร แสงเลิศล้ำ 1 1 2 2 3 3 80.00
24 ด.ญ.ชวัลรัตน์ วงศ์กนก 0 1 1 2 2 2 53.33
25 ด.ญ.กัญญ์ณัชชา นวลบุตรดี 0 0 1 1 1 2 33.33
ตารางที่ 2 การพัฒนาการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3
โรงเรียนชุมชนวัดหนองตำลึง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
ที่ ชื่อ-นามสกุล ครั้งที่ 1
2 ข้อ
ครั้งที่ 2
(2ข้อ)
ครั้งที่ 3
(2ข้อ)
ครั้งที่ 4
(3ข้อ)
ครั้งที่ 5
(3ข้อ)
ครั้งที่ 6
(3ข้อ)
สรุปคิดเป็นร้อยละ
1 ด.ช.พงศกร ศรีพูล 1 1 2 2 2 3 73.33
2 ด.ช.รณกร คล้ายสุวรรณ 1 1 1 2 2 3 66.67
3 ด.ช.เตชิต ศรีมาศ 1 2 2 2 3 3 86.67
4 ด.ช.ปราเมศ ยินดีสุข 0 1 1 1 2 2 46.67
5 ด.ช.ณัฏฐกร ทัดศรี 1 1 2 2 2 3 73.33
6 ด.ช.ณฐกร สุขประเสริฐ 0 1 1 2 2 2 53.33
7 ด.ช. ถิรวัฒน์ สร้างวัด 0 1 1 2 2 1 46.67
8 ด.ช. บวรสิทธิ์ เปลี่ยนศรี 1 1 2 2 3 2 73.33
9 ด.ช.ปรเมศวร์ เพิ่มพูล 0 1 1 2 2 2 53.33
10 ด.ช.พลกฤต แพ่งพนม 2 2 2 2 3 3 93.33
11 ด.ช.ตะวัน มะหันตะ 1 1 1 2 1 2 53.33
12 ด.ช.รัชชานนท์ อัคฮาด 0 1 1 1 2 2 46.67
13 ด.ญ.พรพิมล เถื่อนสุข 1 1 2 2 3 3 80.00
14 ด.ญ.ภคพร ผิวบาง 0 0 1 1 1 2 33.33
15 ด.ญ.ลภัสกร ฤทธิรณ 1 2 2 2 2 3 80.00
16 ด.ญ.ลภัสสินี พลพวก 0 1 2 2 2 2 60.00
17 ด.ญ.ชรินทิพย์ อุดมฤทธิ์ 0 1 1 2 2 2 53.33
18 ด.ญ.ณัฐนิดา นพเกตุ 0 1 2 2 2 2 60.00
19 ด.ญ.วิชุดา ขจรงาม 0 1 2 2 2 3 66.67
20 ด.ญ.พิมพ์รภัทร จันทร์ปัญญา 0 1 2 2 2 2 60.00
21 ด.ญ.โยษิตา จันสด 0 1 1 1 2 2 46.67
22 ด.ญ.จุฑาทิพย์ พันธุลา 1 1 2 2 3 3 80.00
23 ด.ญ.อัญชรีพร แสงเลิศล้ำ 1 2 2 3 3 3 93.33
24 ด.ญ.ชวัลรัตน์ วงศ์กนก 0 1 1 2 2 2 53.33
25 ด.ญ.กัญญ์ณัชชา นวลบุตรดี 0 1 1 1 2 2 46.67
วิเคราะห์ผลได้ดังนี้
จากตารางที่ 1 การพัฒนาการสร้างโจทย์ปัญหาการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3โรงเรียนชุมชนวัดหนองตำลึง จำนวน 25 คน พบว่า นักเรียนยังสร้างโจทย์ปัญหาการคูณไม่ถึงร้อยละ 50 จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 36.00 และนักเรียนจำนวน 9 คนนี้จะได้รับการฝึกทักษะเพิ่มอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความรู้ และมีทักษะในการสร้างโจทย์ปัญหาการคูณอย่างคงทนถาวร
จากตารางที่ 2 การพัฒนาการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3
โรงเรียนชุมชนวัดหนองตำลึง จำนวน 25 คน พบว่า นักเรียนยังวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณไม่ถึงร้อยละ 50 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 24.00 และนักเรียนจำนวน 6 คนนี้จะได้รับการฝึกทักษะเพิ่มอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความรู้ และมีทักษะในการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณอย่างคงทนถาวร
สรุปผล
จากการทำวิจัย เรื่อง พัฒนาทักษะการพัฒนาการสร้าง และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณ โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียชุมชนวัดหนองตำลึง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
พบว่านักเรียนทุกคนมีพัฒนาการมีพัฒนาการด้านทักษะการพัฒนาการสร้าง และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณ ดีขึ้น
ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย
จากการทำวิจัย เรื่อง พัฒนาทักษะการพัฒนาการสร้าง และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณ ในครั้งนี้ สามารถฝึกให้นักเรียนจำนวนหนึ่งที่มีปัญหาด้านการสร้างโจทย์ปัญหาและวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณได้โดยการใช้แบบฝึกทักษะให้นักเรียนฝึกบ่อยๆและต่อเนื่องเป็นประจำจนเกิดความรู้และทักษะในการสร้าง และวิเคราะห์โจทย์ปัญหาการคูณ อย่างคงทนถาวร ซึ่งส่งผลให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้