การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 539 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน ได้จากวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ แบบ คุณลักษณะเด็กปฐมวัยคนดีมีความพอเพียง แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. การศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนจากการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลากรในโรงเรียน สรุปได้เป็น วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และยุทธศาสตร์การพัฒนาของโรงเรียน
2. รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์(SSSPC Model) ประกอบด้วย ตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์และหลักการ จำนวน 5 หลักการ ประกอบด้วย หลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม หลักการกำหนดกลยุทธ์ หลักการปฏิบัติตามกลยุทธ์ หลักการควบคุมและประเมินกลยุทธ์และหลักการความพอใจ และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ พบว่า โดยรวมรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาด้านตัวรูปแบบและหลักการ พบว่า ทั้งด้านตัวรูปแบบการบริหารและทุกหลักการ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ และหลักการที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ หลักการกำหนดกลยุทธ์ กับหลักการปฏิบัติตามกลยุทธ์รองลงมาคือ หลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและหลักการควบคุมและประเมินกลยุทธ์กับหลักการความพอใจตามลำดับ
3. การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์มีดังนี้
3.1 คุณลักษณะเด็กปฐมวัยคนดีมีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โดยรวมผู้ปกครองเด็กมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะเด็กปฐมวัยคนดีมีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า ทุกด้านผู้ปกครองเด็กมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะเด็กปฐมวัยคนดีมีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของด้านเงื่อนไขคุณธรรม รองลงมาคือ ด้านเงื่อนไขความรู้ ลำดับต่อมาคือ ด้านความมีเหตุผล ด้านความมีเหตุผลกับด้านเงื่อนไขคุณธรรม และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามลำดับ
3.2 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่า โดยรวมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเงื่อนไขคุณธรรมกับด้านความมีเหตุผล รองลงมาคือ ด้านความพอประมาณและด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีกับด้านเงื่อนไขความรู้ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า ทุกด้านและทุกข้อ ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่า โดยรวม ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) อยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายหลักการ พบว่า ทุกหลักการครูมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย คือ หลักการความพอใจ รองลงมาคือ หลักการปฏิบัติตามกลยุทธ์กับหลักการกำหนดกลยุทธ์ และหลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมกับหลักการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ตามลำดับ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละหลักการ พบว่า ทุกข้อของแต่ละหลักการครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) พบว่า โดยรวมรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ มีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาทั้ง ตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์และหลักการ พบว่า ตัวรูปแบบการบริหารเชิง กลยุทธ์และทุกหลักการ มีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้สูงสุดคือ ตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ส่วนหลักการที่มีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ โดยมีค่าเฉลี่ย คือ หลักการกำหนดกลยุทธ์รองลงมาคือ หลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมกับหลักการความพอใจและ หลักการปฏิบัติตามกลยุทธ์ กับหลักการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละหลักการ พบว่า ทุกข้อของแต่ละหลักการมีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้อยู่ในระดับมากที่สุด