ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยรูปแบบ TMMS MODEL
ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผู้วิจัย เยาวลักษณ์ มาส้มซ่า
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยรูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้ระเบียบการวิจัย และพัฒนา (research and development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 21 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 549 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 585 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ เครจซี่และมอร์แกน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Kreggie and Morgan, 1970, p 607-610) ได้แก่ ครู จำนวน 20 คน ผู้ปกครองนักเรียน 226 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน รวมทั้งหมด 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของผู้ปกครองนักเรียน ต่อการบริหารงานโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน 2) แบบประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน 3) แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมี ส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL และ 4) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบการบรรยาย ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนแบบมี ส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป และงานบริหารวิชาการ ตามลำดับ
สภาพที่พึงประสงค์ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารจัดการแบบมี ส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป และงานบริหารวิชาการ
โดยผู้ปกครองนักเรียนมีข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) โรงเรียนควรส่งเสริมกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ 2) จัดหาครูให้ตรงวิชาที่สอน 3) ควรจัดหาครูสอนภาษาอังกฤษให้มากขึ้น 4) การให้บริการควรรวดเร็วและถูกต้อง 5) การประชาสัมพันธ์ควรรวดเร็วและสื่อสารถึงผู้ปกครอง และข้อที่มีความถี่น้อยที่สุด ได้แก่ จัดให้มีห้องพยาบาลที่สะอาด มียาและเครื่องใช้ที่เพียงพอ
2. ผลการวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน พบว่า 1) รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ TMMS MODEL มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ในการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ TMMS MODEL 2) รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ TMMS MODEL มีความสอดคล้อง เหมาะสมและชัดเจนกับเนื้อหาในการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ TMMS MODEL ทุกข้อ 3) รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน มีความสอดคล้อง เหมาะสมและชัดเจนในการใช้ภาษาของรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ TMMS MODEL 4) รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน มีความสอดคล้องเหมาะสม ในการพิมพ์และรูปเล่มของรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน มีขนาดเหมาะสมแก่การนำไปใช้ 5) รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน มีความสอดคล้อง เหมาะสมและความสะดวก ในการนำรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมแบบ TMMS MODEL ไปใช้
3. คุณภาพของรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้รูปแบบ TMMS MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 3.81, S.D.= 0.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย สามลำดับแรก คือ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) ( X-bar = 4.08, S.D. = 0.52) การบริหารจัดการองค์กร (Management) ( X-bar= 3.74,S.D.= 0.36) และการทำงานเป็นทีม (Teamwork) อยู่ในระดับมาก ( X-bar= 3.72, S.D.= 0.60)